ปัญหาและแนวทางการจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลพระสมุทรเจดีย์ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • มานะ วิวัฒนศักดิ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • เรืองวิทย์ อร่ามเจริญรัตน์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, การศึกษา, องค์การบริหารส่วนตำบลพระสมุทรเจดีย์

บทคัดย่อ

          การศึกษาปัญหาและแนวทางการจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลพระสมุทรเจดีย์ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลพระสมุทรเจดีย์ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ และศึกษาแนวทางการจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลพระสมุทรเจดีย์ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้วิธีแบบผสม (Mixed Method Research ) คือ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research ) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามสำหรับผู้ปกครอง โดยมีค่าความเชื่อมั่นที่ .97 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 261 คน และผู้วิจัยได้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research ) โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารและครูของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นรายบุคคล ( Individual Research ) จำนวน 16 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานได้แก่ t – test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ( One – way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า

          ปัญหาการจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลพระสมุทรเจดีย์ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า 1) ปัจจัยอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าด้านอื่น  รองลงมา คือ ด้านบุคลากร  ปัญหาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลพระสมุทรเจดีย์ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการที่ต่างศูนย์กันจะมีปัญหาที่แตกต่างกันต่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) แนวทางการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล ตำบลควรได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงาน ตลอดจนการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ส่งเสริมให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนช่วยเหลือในการจัดกิจกรรมของเด็กอย่างต่อเนื่อง

References

กนกอร อุณาพรหม. (2553). การจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรบริหารส่วนตำบลในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครพนนม. สกลนคร : สำนักวิทยาและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัสกลนคร.

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2545). พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. กรุงเทพ. กองราชการส่วนตำบล ส่วนพัฒนารายได้ท้องถิ่น สำนักบริหารราชการส่วนท้องถิ่น.

ช่อทิพย์ ศรีรัตน์. (2553). การบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. การค้นคว้าแบบอิสระรัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทนงศักดิ์ ปักโคทานัง. (2557). การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง, 4(2), 352-366.

ทิพยมาศ ลิ้มสุชาติ. (2551). ปัญหาการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลลิดล จังหวัดยะลา. การศึกษาอิสระ รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประชัน ใจวงค์. (2555). การประเมินการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลในจังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ครุสภามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.

มณทริยา นาผล. (2553). การพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริการส่วนตำบลบ้านขาวอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. การศึกษาอิสระรัฐประศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มัญจนา เหลาวัฒนา. (2554). การพัฒนาการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลดงใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. การศึกษาอิสระ รัฐประศาสตมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2554). การเมืองการปกครองไทย รายงานการวิจัยประเมินผลการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบล. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

Alburly, RG. (March 1977). “The Development of Guiding , Principles for the Establishment and Organization or a Parish Day Nursery School” Dissertation Abstracts International.

Pallozzi, D.P. (1981). “A model for community participation in local school district decision Making” Dissertation Abstracts International.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31