การศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการประชุมเชียร์และรับน้องใหม่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
คำสำคัญ:
กิจกรรมการประชุมเชียร์และรับน้องใหม่บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการประชุมเชียร์และรับน้องใหม่ของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2562 จำนวน 4 สาขาวิชา รวม 410 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการประชุมเชียร์และรับน้องใหม่ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.81 ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้คือค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ในด้านที่สร้างสรรค์ คือ ได้ทำความรู้จักเพื่อนและรุ่นพี่ ส่วนด้านที่ควรพัฒนา คือ เกิดความกลัวรุ่นพี่ 2) นักศึกษาเพศชายและเพศหญิงมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมรับน้องใหม่และประชุมเชียร์แตกต่างกัน 3) นักศึกษาที่เรียนในสาขาวิชาต่างกันมีความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ไม่แตกต่างกัน และ 4) นักศึกษาที่เรียนในระดับชั้นปีที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ไม่แตกต่างกัน
References
จตุรวัฒน์ ผนึกรัมย์. (2557). การมีส่วนร่วมในกิจกรรมนักศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีสุรนารี ปีการศึกษา 2556(รายงานการวิจัย). นครราชสีมา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ชูชีพ เยาวพัฒน์. (2548). การศึกษาพฤติกรรมการรับน้องใหม่ของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรม
โยธา (ต่อเนื่อง) ในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สถาบัน
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2552). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: ไทเนรมิตกิจ
อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.
ไตรถิกา นุ่นเกลี้ยง. (2557). ความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบและผลกระทบของการจัดกิจกรรมการรับน้องใหม่และ
ประชุมเชียร์ ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่(รายงานการวิจัย).
สงขลา: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่.
ทัฬหทัย ศรีดาพันธ์. (2550). การรับน้องใหม่และประชุมเชียร์: กรณีศึกษานิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เทอดธิดา ทิพย์รัตน์, สุนันทา ศรีโสภา และ ณรงค์ ชัยสงเคราะห์. (2558). การประเมินการยอมรับการรับน้องใหม่
ของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ด้วยการประยุกต์ใช้วิธีไวโกร์และกระบวนการ
ลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก.
รุ่งอรุณ พรเจริญ นุชนารถ ผ่องพุฒิ และ ทรงสิริ วิชิรานนท์. (2560). ความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่มี
ต่อการจัดกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(2), 130-141.
สิทธิพร เกษจ้อย พระวรชัด ทะสา และ พระมหาสัจจารักษ์ ไร่สงวน. (2561). ความคิดเห็นของนักศึกษาคฤหัสถ์
ภาคปกติชั้น ปีที่ 1 ที่มีต่อกิจกรรมรับน้อง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน อำเภอ
เมือง ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ปีการศึกษา 2559. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 7(1) , 160-167.
สำเนาว์ ขจรศิลป์. (2535). ความคิดเห็นของนักศึกษาและผู้บริหารฝ่ายกิจการนักศึกษาเกี่ยวกับการประชุมเชียร์
และการต้อนรับน้องใหม่ของนิสิตนักศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอนแก่น เชียงใหม่
และสงขลานครินทร์. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 13(1), 85 – 95.
Best, J. W. (1981). Research in education. (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาตของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เว้นแต่จะได้รับอนุญาติเป็นอย่างอื่น