การประยุกต์ใช้แนวคิดแบบอไจล์เพื่อพัฒนาระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ มหาวิทยาลัยนครพนม

ผู้แต่ง

  • วุฒิภัทร พงษ์เพชร กองส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนครพนม
  • อภิชาติ จำปา กองส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนครพนม
  • อัจฉริยา ทุมพานิชย์ วิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์, มหาวิทยาลัยนครพนม, อไจล์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้แนวคิดแบบอไจล์เพื่อพัฒนาระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ มหาวิทยาลัยนครพนม ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) พัฒนาระบบการรับสมัครนักศึกษาออนไลน์โดยใช้วิธีการพัฒนาระบบแบบอไจล์ 2) ประเมินความพึงพอใจในการใช้งานระบบการรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบ ประกอบด้วย การออกแบบพัฒนาส่วนหน้าเว็บไซต์ (Front-End) โดยใช้ภาษา HTML, CSS, JavaScript และ Bootstrap ส่วนระบบจัดการหลังบ้าน (Back-End) ถูกพัฒนาด้วยภาษา PHP และระบบฐานข้อมูลใช้ MySQL จากนั้นดำเนินการพัฒนาระบบโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดอไจล์

ผลการวิจัยพบว่า ระดับความพึงพอใจของการใช้งานระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ของกลุ่มผู้ใช้งานระบบที่เป็นเจ้าหน้าที่งานรับเข้านักศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม จำนวน 30 คน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01 ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านเนื้อหา ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 รองลงมา คือ ด้านความง่ายต่อการใช้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 ด้านประสิทธิภาพของระบบ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 และด้านการนำเสนอ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.84 โดยรวมระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานระบบอยู่ในระดับดี อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ ลดข้อจำกัดของระบบเดิม เพิ่มประสิทธิภาพการชำระเงินผ่านระบบออนไลน์ และสามารถแสดงผลรายงานที่จำเป็นต่อกระบวนการรับสมัครนักศึกษาได้เป็นอย่างดี

 

References

กองส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยนครพนม. (2565). ข้อมูลหลักสูตรและจำนวนนักศึกษา

มหาวิทยาลัยนครพนม ปีการศึกษา 2565. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2566, จาก http://www2.npu.ac.th/acad/registrar.php

ชนัญชิดา เลิศจะบก และจงกล จันทร์เรือง. (2563). การประยุกตใช้อไจล์เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบนำเสนอ

หนังสือมีชีวิตดิจิทัล กรณีศึกษาสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลอีสาน. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11 “Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward 2020.” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ปวีณรัตน์ จิรพงศ์วิวัฒน์, ปวีณ์ริดา ศิริวงศ์ และภัทรา สุขะสุคนธ์. (2565). ส่วนประสมการตลาดบริการของ

มหาวิทยาลัยภาครัฐในกรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2(2), 31–48.

วงศ์สวรรค์ ศรีมนตรีสง่า. (2565). การพัฒนาระบบรับสมัครเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการ ปขม, 11(3), 118–128.

Al-Saqqa, S., Sawalha, S., & Abdelnabi, H. (2020). Agile software development: Methodologies and trends. International Journal of Interactive Mobile Technologies, 14(11), 246–270.

Edeki, C. (2015). Agile software development methodology. European Journal of Mathematics and Computer Science, 2(1), 22-27.

Pressman, R. S., & Maxim, B. R. (2015). Software Engineering: A Practitioner’s Approach, Eighth Edition. In ACM SIGSOFT Software Engineering Notes (Vol. 66).

Tavares, B. G., da Silva, C. E. S., & de Souza, A. D. (2019). Risk management analysis in Scrum

software projects. International Transactions in Operational Research, 26(5), 1884-1905.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30