การออกแบบสร้างสรรค์ลวดลายสไบมอญจากทุนวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • พรนารี ชัยดิเรก คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ธนีพรรณ โชติกเสถียร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บทคัดย่อ

สไบมอญถือเป็นเอกลักษณ์การแต่งกายของชาวมอญ โดยเฉพาะในจังหวัดปทุมธานีที่มีคนไทยเชื้อสายมอญอยู่มาก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผ้าสไบมอญและทุนทางวัฒนธรรมของจังหวัดปทุมธานี และเพื่อออกแบบต้นแบบสไบมอญรูปแบบใหม่ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ทุนวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการรวบรวมข้อมูลด้านสไบมอญ และทุนวัฒนธรรมของจังหวัดปทุมธานี แนวคิดทุนวัฒนธรรมร่วมสมัย แนวคิดโลกาภิวัตน์ แนวคิดท้องถิ่นภิวัตน์ และทฤษฎีการออกแบบลวดลาย ร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณโดยการใช้แบบสอบถาม การให้คะแนนจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน จากการศึกษาพบว่า ลวดลายบนสไบมอญจังหวัดปทุมธานีประกอบด้วยลายดอกไม้ โดยใช้เทคนิคการสร้างลวดลายในรูปแบบลวดลายประยุกต์จากของจริง (ร้อยละ 27.7) และผสมผสานลวดลายจากจินตนาการ (ร้อยละ 27.2) และลายทุนวัฒนธรรม โดยใช้เทคนิคการสร้างลวดลายในรูปแบบลวดลายเรขาคณิต (ร้อยละ 29) และลวดลายประยุกต์จากของจริง (ร้อยละ 25.8) ด้านองค์ประกอบที่สำคัญในการออกแบบสไบมอญ ได้แก่ ด้านโครงร่างเงา ด้านลวดลาย ด้านสีสัน ด้านรายละเอียดการตกแต่งบนผ้าและด้านลักษณะจำเพาะของวัสดุ ผู้วิจัยอาศัยเทคนิคการวิจัยเชิงอนาคตแบบ EDFR ด้วยการตัดสินด้านรูปแบบสไบมอญอีกครั้งจากคณะผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพัฒนาเป็นสไบมอญรูปแบบใหม่ที่มีความร่วมสมัย โดยมีเอกลักษณ์และความแตกต่างจากผ้าสไบมอญที่อื่น เพื่อเป็นการต่อยอดภูมิปัญญาพื้นถิ่น ยกระดับสินค้าภายในชุมชนจังหวัดปทุมธานี

References

กิตติพงษ์ เกียรติวิภาค. (2560). พัฒนาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยใช้กรอบแนวคิดการออกแบบหัตถอุตสาหกรรม. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,9(2), น. 333-366.

กิตติพงษ์ เกียรติวิภาค. (2563). แนวคิดการนำมิติทางวัฒนธรรมสู่การออกแบบสร้างสรรค์ที่สับสน. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 21(2), น. 20-41.

ณวิญ เสริฐผล. (2020). การดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นในสังคมโลกาภิวัตน์. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 5(2), น. 313-331.

ประเสริฐ ศีลรัตนา. (2538). การออกแบบลวดลาย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ปิยะวรรณ ปิ่นแก้ว, เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง และพรสนอง วงศ์สิงห์ทอง. (2560). การศึกษาภาพลักษณ์ เอกลักษณ์ บุคลิกภาพ จังหวัดนครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 37(1), น. 233-244.

พรนารี ชัยดิเรก. (2562). แนวทางการออกแบบแฟชั่นสินค้าเครื่องหนังส่งออกประเทศญี่ปุ่น : การสร้างสรรค์อัตลักษณ์หัตถกรรมไทยในรูปแบบอาวองท์-การ์ด หลังยุคสมัยใหม่. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20(2), น. 77-89.

ยุวดี ศรีห้วยยอด. (2564). สไบมอญเจ็ดริ้ว [ออนไลน์]. จาก https://communityarchive.sac.or.th/blog/118.

รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข. (2557). โลกาภิวัตน์ท้องถิ่นนิยมกับการโหยหาอดีต. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 2(2), น. 1-15.

วัชรินทร์ จรุงจิตสุนทร. (2548). หลักการและแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์ Theory and Concept of Design. กรุงเทพฯ : แอ๊ปป้าพริ้นท์ติ้ง.

สยามรัฐออนไลน์. (2564). วัฒนธรรมปทุมธานีโชว์“หัตถกรรมดอกบัว”และ”สไบมอญ” อัตลักษณ์ท้องถิ่นสานต่อทุนทางวัฒนธรรม สร้างรายได้ให้กับชุมชน [ออนไลน์]. จาก https://siamrath.co.th/n/225502.

อาโด๊ด. (2560). ตำนานสไบมอญน้ำเค็ม [ออนไลน์]. จาก https://www.facebook.com/RamannMon/posts/1345137168894465/.

เอกรัฐ เลาหทัยวาณิชย์. (2556). แนวคิดการสร้างภาพแทน (Representation) [ออนไลน์]. จาก https://phdcommunication.wordpress.com/2013/03/07/-representation/

อ้อยทิพย์ พลศรี. (2545). การออกแบบลวดลาย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

MGR Online. (2563). สัมผัสวิถีชีวิตรามัญ ที่ "มอญสามโคก" [ออนไลน์]. จาก https://mgronline.com/travel/detail/9500000037946

The Reporters. (2563). ‘ถัก ปัก ร้อย’ กู้วิกฤตเศรษฐกิจ ลดความรุนแรงในครอบครัว [ออนไลน์]. จาก https://www.thereporters.co/culture/sabaimorn-pathumthani/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29