การประยุกต์ใช้งานโปรแกรม Power BI ในการวิเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินงาน โรงพยาบาลทันตกรรม มหาวิทยาลัยพะเยา
คำสำคัญ:
ระบบสารสนเทศ, การพยากรณ์, เทคนิคเอกซ์โพเนนเชียล, โปรแกรมพาวเวอร์บีไอ, แดชบอร์ดบทคัดย่อ
การศึกษาการออกแบบและพัฒนาการรายงานข้อมูลผลการดำเนินงานโรงพยาบาลทันตกรรมโดยใช้ โปรแกรม Power BI มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาการรายงานข้อมูลผลการดำเนินงานโรงพยาบาลทันตกรรมโดยใช้โปรแกรม Power BI และประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารต่อผลการออกแบบและพัฒนาการรายงานข้อมูลผลการดำเนินงานโรงพยาบาลทันตกรรม ประยุกต์ใช้เครื่องมือโปรแกรม Microsoft Power BI เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลในอดีตจนถึงปัจจุบันในรูปแบบที่เข้าใจง่าย แสดงสารสนเทศการวิเคราะห์ข้อมูล แสดงผลเป็นแผนภูมิ กราฟ ฮิสโตแกรม ใช้อัลกอริทึมการพยากรณ์เทคนิคเอกซ์โพเนนเชียลพยากรณ์รายได้การบริการทางทันตกรรม เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารโรงพยาบาลทันตกรรม
การวิจัยนี้ทำการทดสอบการทำงานของระบบผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้บริหารเพื่อสามารถเข้าใจและใช้งานระบบได้ การประเมินความพึงพอใจโดยใช้แบบสอบถาม เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบด้วย ผู้บริหารคณะทันตแพทยศาสตร์จำนวน 14 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหารคณะทันตแพทยศาสตร์จำนวน 14 คน มีความพึงพอใจต่อผลการออกแบบและพัฒนาการรายงานข้อมูลผลการดำเนินงานโรงพยาบาลทันตกรรมโดยใช้โปรแกรม Power BI ในด้านการนำไปใช้งาน มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 (x = 4.54) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.64 (S.D. = 0.64) และระดับความพึงพอใจต่อผลการออกแบบและพัฒนาการรายงานข้อมูลผลการดำเนินงานโรงพยาบาลทันตกรรมโดยใช้โปรแกรม Power BI รวมทุกด้านอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 (x = 4.43) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.69 (S.D. = 0.69) จากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า โปรแกรม Power BI ที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นผู้บริหารสามารถนำระบบไปใช้ในการพยากรณ์ข้อมูลและสนับสนุนการตัดสินใจได้
References
ไตรรัตน์ ใบศรี. (2559). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการข้อมูลประชากรในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์| Academic Services Journal, Prince of Songkla University, 27(2), 98-107.
ปริญญาพร สิงหเดช และคณะ. (2566). การพัฒนาระบบการจองผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเพื่อวางแผนการผลิต.
วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 5(1), 32-45.
ปวีณา ปรีชากุล และคณะ. (2564). การ พัฒนาระบบพยากรณ์คุณภาพการบริหารหลักสูตรในระดับอุดมศึกษาด้วยไมโครซอฟต์พาวเวอร์บีไอ. Research Journal Phranakhon Rajabhat: Science and Technology, 16(1), 41-55.
ปัทมา เที่ยงสมบุญ. (2561). การพัฒนาโปรแกรม Power BI เพื่อสนับสนุนการพยากรณ์และการตัดสินใจของผู้บริหาร กรณี ศึกษากลุ่มโรงพยาบาล. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
พลอยไพลิน หาญสุทธิชัย และกฤษณะ ไวยมัย. (2566). ระบบช่วยสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการบริหารจัดการ สินทรัพย์ครุภัณฑ์. วารสารงานวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์ โดยสมาคม ECTI, 3(1), 9-19.
พิศิษฐ ตัณฑวณิช และพนา จินดาศร. (2561). ความหมายที่แท้จริงของค่า IOC วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(2), 3-12.
พีระพงษ์ พิพัฒน์เจษฎากุล. (2561). การพัฒนาโปรแกรม Power BI เพื่อสนับสนุนงานจำหน่ายไฟฟ้า. วารสาร วิชาการ" การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ", 5(2), 48-56.
มธุริน ปิ่นทอง และจารุวรรณ พลอยดวงรัตน์. (2564). แดชบอร์ดเพื่อการจัดการฐานข้อมูลนักเรียน. วารสาร สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (ส พบ ท.), 3(4), 25-34.
มหาวิทยาลัยพะเยา. (2560). ประกาศมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่อง จัดตั้งโรงพยาบาลทันตกรรม ศูนย์การแพทย์และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2560.พะเยา: มหาวิทยาลัยฯ.
มัลลิกา วัฒนะ และคณะ. (2561). ระบบการตัดสินใจสำหรับการสั่งซื้อสินค้าโดยใช้เทคนิคธุรกิจอัจฉริยะกรณีศึกษา บริษัท มิสเตอร์ซูซิ จำกัด. JOURNAL OF INFORMATION SCIENCE AND TECHNOLOGY, 8(2), 25-36.
วรรณวิภา วงศ์วิไลสกุล. (2554). ดาต้าแวร์เฮาส์และดาต้าไมนิงสำหรับการบริหาร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 2(2), 79-92.
สันติ เติมผล และ กฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2566). การประยุกต์ใช้โปรแกรม Power BI : เครื่องมือเพิ่ม
ประสิทธิภาพ การดำเนินงานขององค์การ. Journal of Suvarnabhumi Institute of Technology (Humanities and Social Sciences), 9(1), 302-315.
Al-edenat, M., & Alhawamdeh, N. (2022). Reconsidering Individuals’ Competencies in Business Intelligence and Business Analytics toward Process Effectiveness: Mediation-Moderation Model. Business: Theory and Practice, 23(2), 239-251.
Analytics Vidhya. (2023). How to Use Power BI for Accurate Forecasting and Analysis (Updated 2023). https://www.analyticsvidhya.com/blog/2020/07/time-series-forecasting-using-microsoft-power-bi/.
Chaudhry, K., & Dhingra, S. (2021). Modeling the Critical Success Factors for Business Intelligence Implementation: An ISM Approach. International Journal of Business Intelligence Research (IJBIR), 12(2), 1-21.
Janyapoon, S., & Liangrokapart, J. (2021). Critical Success Factors of Business Intelligence Implementation in Thai Hospitals. International Journal of Healthcare Information Systems and Informatics, 16(4). 1-21.
Likert, R. (1961). New patterns of management. New York: McGraw-Hill Book Company Inc.
Nabil, D. H., & et al, B. C. (2023). Managing supply chain performance using a real time Microsoft Power BI dashboard by action design research (ADR) method. Cogent Engineering, 10(2), 2257924.
Singh, G., Kumar, A., Singh, J., & Kaur, J. (2023, March). Data Visualization for Developing Effective Performance Dashboard with Power BI. In 2023 International Conference on Innovative Data Communication Technologies and Application (ICIDCA) (pp. 968-973). IEEE.
Srivastava, S. (2023). Why is Business Intelligence Important for Your Organization?. appinventiv. Retrieved from https://appinventiv.com/blog/importance-of-business-intelligence-system.
Tableau. (2023). วิธีการทำงานของการพยากรณ์ใน Tableau. https://help.tableau.com/current/pro/desktop/th-th/forecast_how_it_works.htm
Tripak, D., & Pamonsinlapatham, P. (2019). DEVELOPMENT OF MEDICAL RECORD QUERY
APPLICATION FOR HOSxP, HoMC and HOSPITAL OS FOR PHARMACEUTICAL CARE. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, 14(2), 1-14.
Virani, J., & et al, P. (2023, March). Mental Healthcare Analysis using Power BI & Machine Learning. In 2023 4th International Conference on Signal Processing and Communication (ICSPC) (pp. 73-76). IEEE.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลพระนครวารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาตของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เว้นแต่จะได้รับอนุญาติเป็นอย่างอื่น