ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ กรณีศึกษาพญาศรีสัตตนาคราช จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, ผู้สูงอายุ, พญาศรีสัตตนาคราชบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ กรณีศึกษาพญาศรีสัตตนาคราช จังหวัดนครพนม โดยกลุ่มตัวอย่างวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวไทยที่มาท่องเที่ยว จังหวัดนครพนม จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ กรณีศึกษาพญาศรีสัตตนาคราช จังหวัดนครพนม ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลทั้งด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน ส่วนความคิดเห็นที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุโดยรวม มีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.56 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุด คือคาดว่าจะเดินทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในครั้งต่อไป ความงดงามของศิลปวัฒนธรรมของแหล่งท่องเที่ยว ความสวยงามของสภาพภูมิทัศน์โดยรวมของสถานที่ท่องเที่ยว มีความสวยงามและกำลังเป็นที่นิยม ประหยัดค่าใช้จ่ายและคุ้มค่ากับการเดินทางมาท่องเที่ยว การอนุรักษ์ด้านสถาปัตยกรรมของแหล่งท่องเที่ยว การเดินทางมีความสะดวกปลอดภัยและสามารถเดินทางมาได้หลายเส้นทาง การได้สัมผัสวิถีชีวิตของคนในชุมชนบริเวณแหล่งท่องเที่ยว สภาพของถนนในเส้นทางเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว การจัดการจราจรในบริเวณแหล่งท่องเที่ยว
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม
, จาก : http://www.mots.go.th
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2565). นครพนม(ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2565 จาก
https://thai.tourismthailand.org/Destinations/Provinces/%E0%B8%99%E0%B8%84%E0
%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%A1/579
ขนิษฐา ปาลโมกข์ และคณะ. (2562). การพัฒนาการตลาดท่องเที่ยวของผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการ
ท่องเที่ยวในประเทศไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
ตุลยราศี ประเทพ. (2564). ศตวรรษที่ 21 กับการท่องเที่ยวผู้สูงอายุในประเทศไทย (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 28
พฤศจิกายน 2565, จาก https://bsru.net/
ธวัช พุ่มดารา. (2564). การศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวคุณภาพสูง กลุ่มผู้สูงอายุจังหวัด
สมุทรสงคราม (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
พัชนีวรรณ เชื้อเล็ก และธวัลหทัย บุณยรัตนเสวี. (2561). กำลังคนสูงวัย: ความท้าทายในการบริหารจัดการ.
วารสารข้าราชการ. 60(4): 12-14.
มติชนออนไลน์. (2560). สังคมผู้สูงอายุกับอนาคตประเทศไทย (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 2 ธันวาคม 2565,
จาก https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_575355
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2565). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. นครปฐม :
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
รชพร จันทร์สว่าง และยงยุทธ แก้วอุดม. (2565). การศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตของนักท่องเที่ยวสูงอายุ
ชาวไทยที่มีการใช้จ่ายสูง (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.
สำนักงานจังหวัดนครพนม. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดนครพนม พ.ศ.2561-2564 (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ
ธันวาคม 2565, จาก http://www2.nakhonphanom.go.th/news_struct//?page=5
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครพนม. (2565). พญาศรีสัตตนาคราช (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม
, จาก https://nakhonphanom.prd.go.th/th/content/category/detail/id/224/iid/3448
Cronbach, L., J. (1973). Essentials of Psychological Testing. New York : Harper and Row.
Taro, Y. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลพระนครวารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาตของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เว้นแต่จะได้รับอนุญาติเป็นอย่างอื่น