พฤติกรรมการใช้บริการของนักท่องเที่ยวชาวไทยและองค์ประกอบคุณภาพการบริการ ของโฮสเทลในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การใช้บริการ, ที่พักโฮสเทล, กรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ 1.เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการที่พักโฮสเทลของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร 2.เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อองค์ประกอบคุณภาพการบริการโฮสเทลในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษามีจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติใช้ในการศึกษา คือ ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage)
ผลการวิจัยส่วนใหญ่พบว่า 1) ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาใช้บริการที่พักโฮสเทลในเขตกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 48 รู้จักและทราบข้อมูลเกี่ยวกับที่พักโฮสเทลในกรุงเทพมหานครโดยสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต/สื่อสังคมออนไลน์ ร้อยละ 22.8 เลือกใช้บริการที่พักโฮสเทล เพราะที่พักมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบ ร้อยละ 58 เลือกใช้บริการที่พักโฮสเทลในกรุงเทพมหานครในวันหยุดเทศกาลต่าง ๆ ร้อยละ 44.8 เลือกใช้บริการที่พักโฮสเทลในกรุงเทพมหานคร 1 ครั้งต่อเดือน ร้อยละ 61.5 มีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการที่พักโฮสเทลในกรุงเทพมหานคร 1,001 - 1,500 บาทต่อครั้ง ร้อยละ 33 เดินทางตามลำพังเพื่อใช้บริการที่พักโฮสเทลในกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 29.2 และร้อยละ 80.8 จะกลับมาใช้บริการที่พักโฮสเทลในกรุงเทพมหานคร 2) ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของที่พักโฮสเทล ในกรุงเทพมหานคร พบว่า นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นด้านการดูแลเอาใจใส่ มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความไว้วางใจ ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านสิ่งแวดล้อมที่พบเห็น และด้านการตอบสนองต่อความต้องการ ตามลำดับ
References
ณัฐพร ดอกบุญนาค และฐาปกรณ์ ทองคำนุช. (2558). ความต้องการเลือกใช้โรงแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
ภัทรพร ตั๊นงาม. (2563). ภัทรพร ตั๊นงาม. ส่อง "พัทยา" หลัง จ.ชลบุรี พ้นวิกฤต COVID-19 ติดต่อ 97 วัน. [ออนไลน์]. จาก https://news.thaipbs.or.th
มาร์เก็ตทีนออนไลน์. (2562). Hostel ต้องปรับตัวอย่างไร ให้ยิ่งชนะใจนักท่องเที่ยว. สืบค้นจาก https://marketeeronline.co/archives/125216.
วรพันธุ์ คล้ามไพบูลย์ และจิตติพันธ์ ศรีกสิกรณ์. (2559). The Hostel Bible กรุงเทพมหานคร :
ซูเปอร์กรีนสตูดิโอ.
สุดา สุวรรณาภิรมย์ และวิชิต อู่อ้น (2548). การวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพฯ: เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส.
Hostel Management. (2017). Definition of Hostel. Retrieved [ออนไลน์]. จาก https://hostelmanagement.com/glossary/hostel.html.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลพระนครวารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาตของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เว้นแต่จะได้รับอนุญาติเป็นอย่างอื่น