การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มบางจากประชานิคม และวัดสุบรรณนิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1
คำสำคัญ:
การใช้นวัตกรรม, เทคโนโลยีสารสนเทศ, ผู้บริหารและครูผู้สอน, สถานศึกษาในศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการใชันวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มบางจากประชานิคม และวัดสุบรรณนิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 และ 2) การเปรียบเทียบการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มบางจากประชานิคม และวัดสุบรรณนิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 ตามการประเมินของครูผู้สอน จำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ครู จำนวน 76 คน ใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่และค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มบางจากประชานิคม และวัดสุบรรณนิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 โดยรวม อยู่ในระดับมาก (=3.85, S.D.=0.61) เมื่อพิจารณารายด้าน เรียงลำดับ ค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารงานบุคคลอยู่ในระดับมาก (= 4.10, S.D.=0.58) รองลงมาคือ ด้านการบริหารงบประมาณอยู่ในระดับมาก (= 4.05, S.D.=0.61) ด้านการบริหารทั่วไป ( =3.67, S.D.=0.62) และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการบริหารวิชาการอยู่ในระดับมาก (= 3.61, S.D.=0.64) (2) เปรียบเทียบการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มบางจากประชานิคม และวัดสุบรรณนิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 ตามการประเมินของครูผู้สอน จำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน พบว่าไม่แตกต่างกัน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การจัดระบบบริหารและสารสนเทศภายในสถานศึกษาตาม กฎกระทรวงว่าด้วย
ระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กฤษณะ วัฒนภักดีกิจ. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนบ้านมะขามทานตะวัน ลังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม.
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ (2566). การบริหารนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา การจัดการเรียนรู้ด้วยภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา), วารสารพุทธมัคค์, 8(2), 201-215.
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2566). การบริหารงานวิชาการการจัดการเรียนการสอนเทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ) เรื่อง การสร้างผลงาน ในหัวข้อประเพณีแห่เทียนพรรษาโดยใช้เกมส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้านโดมประดิษฐ์ จังหวัดอุบลราชธานี, วารสารชัยภูมิปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ, 6(2), 24-35.
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2566). นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบโมไบล์เลิร์นนิง เรื่อง แหล่โบราณสถานบริเวณเมืองเก่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีวิทยาโดยใช้โปรแกรมโลกเสมือนจริง (Metaverse). วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา,15(1), 119-133.
เอกนรินทร์ คงชุม และคณะ. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแกะสลักผักและผลไม้ลายกุหลาบ โดยใช้สื่อวีดิทัศน์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลมะนัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล เขต 1. วารสารวิจยวิชาการ, 6(1), 79-90.
พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ และคณะ. (2566). คุณลัักษณะองค์์ประกอบ และแนวทางการพััฒนาภาวะผู้้นำการเปลี่่ยนแปลงเพื่่อสร้้างองค์์กรแห่่งนวััตกรรมทางการศึึกษาของผู้้บริิหารวิิทยาลััยพยาบาลในประเทศไทย, วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้, 3(3), 207-255.
สุวัฒน์ กู้เกียรติกาญจน์ และวิชิต แสงสว่าง. (2564). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหาร สถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(3), 68-80 .
อภิสิทธิ์ ทุริยานนท์ และณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2566). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2 , วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 23(2), 48-64.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297–334.
Yamane Taro. (1973). Statistic: An introductory and lysis. (2nd/ed). New York: Harpar and row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลพระนครวารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาตของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เว้นแต่จะได้รับอนุญาติเป็นอย่างอื่น