การจัดการความหลากหลายของทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ : แนวคิดและวิธีปฏิบัติ
คำสำคัญ:
ความหลากหลายของทรัพยากรมนุษย์, การจัดการความหลากหลาย, การบริหารทรัพยากรมนุษย์บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอหลักการแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความหลากหลายของทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ และตัวอย่างวิธีการปฏิบัติที่ดีในการจัดการความหลากหลายของทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ ทั้งในมิติเพศ อายุ และเชื้อชาติ รวมถึงการเสนอข้อเสนอแนะในการจัดการความหลากหลายของทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ บทความนี้เป็นการศึกษาในลักษณะของการทบทวนวรรณกรรม โดยการศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (Documentary Research) ประกอบด้วย หนังสือ ตำรา บทความวิชาการ และงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความหลากหลายของทรัพยากรมนุษย์ในองค์การทั้งในกลุ่มเพศ อายุ และเชื้อชาติ โดยนำมาเรียบเรียงขึ้นใหม่ในลักษณะของบทความวิชาการ การจัดการความหลากหลายของทรัพยากรมนุษย์ในองค์การนั้น มีแนวทางปฏิบัติที่ดีด้วยการคำนึงถึงความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันกับสมาชิกทุกกลุ่มในองค์การในกระบวนการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกกระบวนการ การเสริมสร้างแรงงานสัมพันธ์และบรรยากาศการทำงานที่ดีที่ทำให้พนักงานทั้งหมดไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง อันนำไปสู่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในองค์การ และการเสริมสร้างความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันในความแตกต่างระหว่างพนักงานด้วยกันเอง
References
เจษฎา นกน้อย. (2552). การจัดการความหลากหลายในองค์กร : ตัวแบบทางด้านทรัพยากรมนุษย์เพื่อความเท่าเทียมกันของผู้มีอัตลักษณ์หลากหลายทางเพศ. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ฉัตรลัดดา เลิศจิตรการุณ และคณะ. (2559). องค์กรแห่งความสุข ... ท่ามกลางความหลากหลาย. กรุงเทพฯ : ศูนย์องค์กรสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
นพดล เดชประเสริฐ. (2561). การบริหารจัดการความหลากหลายขององค์กร ตามช่วงวัยที่ต่างกัน. Journal of Graduate School of Commerce-Burapha Review, 13(2), 121–134. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/GSC/article/view/165156.
ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2558). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ : แนวทางใหม่. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน
พัชรา โพธิ์ไพฑูรย์. (2566). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิสรัปชั่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมลพรรณ เชื้อบางแก้ว. (2554). การบริหารความหลากหลายของบุคลากรในองค์การ : กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 31(1),
-159
ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริยุพา รุ่งเริงสุข (Siriyupa Roongrerngsuke). (2558). D&I เทรนด์ HR ที่มาแรง. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635110
สุธินี ฤกษ์ขำ. (2560). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลักการและการประยุกต์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Ardakani,M.S., Abzari,M., Shaemi,A. and Fathi,S. (2015). Diversity management and human resources productivity: Mediating effects of perceived organizational attractiveness, organizational justice and social identity in Isfahan’s steel industry. Iranian Journal of Management Studies (IJMS), 9(2) , 407-432
Brimhall,K.C., Lizano,E.L., Barak,M.E.M. (2014). The mediating role of inclusion: A longitudinal study of the effects of leader–member exchange and diversity climate on job satisfaction and intention to leave among child welfare workers. Children and Youth Services Review, 40, 79-88
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลพระนครวารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาตของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เว้นแต่จะได้รับอนุญาติเป็นอย่างอื่น