แนวทางการพัฒนาการทำงานของพนักงานแม่บ้านโรงแรมเขตกรุงเทพมหานคร ในช่วงการระบาดของ COVID-19

ผู้แต่ง

  • หทัยรัตน์ ปัทมาวิวัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ภคพนธ์ ศาลาทอง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ปทุมมา อินทร์อ่อน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

ปัญหาและผลกระทบการทำงาน, การพัฒนาการทำงาน, พนักงานแม่บ้านโรงแรม, โควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและผลกระทบการทำงาน และการพัฒนาการทำงานของพนักงานแผนกแม่บ้านในโรงแรมในช่วงการระบาด COVID-19 เป็นการวิจัยแบบเชิงผสม (Mix Method Research) โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 169 คน และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 คน ผลการศึกษาพบว่า

ปัญหาและผลกระทบการทำงานของพนักงานแผนกแม่บ้านในโรงแรม สรุปภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.40 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความมั่นคงในการทำงานเป็นปัญหาและผลกระทบการทำงานอันดับหนึ่ง อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 และน้อยที่สุดด้านสุขภาพอนามัยอยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.91 ส่วนการพัฒนาการทำงานของพนักงานแผนกแม่บ้านในโรงแรมในช่วงการระบาด COVID-19 สรุปภาพรวมการพัฒนาการทำงานของพนักงานแผนกแม่บ้านในโรงแรมในช่วงการระบาด COVID-19 อยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการส่งเสริมการพัฒนาพนักงานแม่บ้านของโรงแรมอันดับหนึ่ง อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 และน้อยที่สุดด้านการพัฒนาตนเองของพนักงานแม่บ้าน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 นอกจากนี้ต้องเข้าใจถึงบริบทที่แท้จริงถึงสภาพปัญหาและความต้องการโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านจิตใจ และด้านปัญญาความรู้

References

ขจิต กอบเดช. (2548). การบริหารงานแม่บ้านในโรงแรมและสถาบันอื่น ๆ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : ซี ซี พริ้นติ้ง.

จิตตินันท์ นันทไพบูลย์. (2555).การจัดการโรงแรม. กรุงเทพ ฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น

ณัฎฐวรรณ คำแสน. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 33-48.

ธัญชนก เลิศวิทยาทาน. (2564) . ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของพนักงานโรงแรมในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นงนุช ศรธนานันท์. (2553). การโรงแรมเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). ม.ป.ท. : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต

พุทธชาด ลุนคำ. (2562). แนวโน้มธุกิจอุตสาหกรรม ปี 2562 – 2564: โรงแรมย่านกลางเมืองกรุงเทฯ

[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2567, จาก Krungsri กรุงศรี http.//bit.lg/30 Rnge

. (2566). ยกระดับธุรกิจโรงแรมและที่พักให้สะอาดปลอดภัยจาก COVID-19 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2566, จาก http.//www.officemate.co.th/bleg.

. (2563). สถานการณ์ธุรกิจโรงแรม [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2566, จาก http.//www.gsbresearch.or.th.

ธิษณา หาวารี และ บุษรา โพวาทอง. (2563). การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในภาวะวิกฤต COVID-19 ระหว่าง พ.ศ 2563 – 2564 ของโรงแรมในเขตพัทยาเหนือ กรณีโรงแรมที่มีการบริหารแบบอิสระขนาดเล็กและขนาดกลาง.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภิญญดา ปีติวรรณ (2564). ทิศทางการพัฒนาทุนมนุษย์ในธุรกิจโรงแรมเครือข่ายนานาชาติในประเทศไทยหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19.ม.ป.ท. : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-28

How to Cite

ปัทมาวิวัฒน์ ห. . ., ศาลาทอง ภ. . ., & อินทร์อ่อน ป. . (2024). แนวทางการพัฒนาการทำงานของพนักงานแม่บ้านโรงแรมเขตกรุงเทพมหานคร ในช่วงการระบาดของ COVID-19. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลพระนคร Journal of Liberal Arts Rajamangala University of Technology Phra Nakhon, 4(2), 44–53. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/LiberalJ/article/view/6357