ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
คำสำคัญ:
ทัศนคติ, พฤติกรรม, ภาษาอังกฤษบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมในการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และ 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและพฤติกรรมการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1- 4 จำนวน 262 คน ใช้การสุ่มแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความสัมพันธ์
ผลการวิจัยพบว่า ทัศนคติทัศนคติและพฤติกรรมการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16
เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า นักศึกษาคิดว่าภาษาอังกฤษช่วยให้มีโอกาสก้าวหน้าทางอาชีพมากขึ้น มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4.47 รองลงมาคือ นักศึกษาคิดว่าการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจําวันมีความสําคัญมากน้อยเพียงใด มีค่าเฉลี่ย 4.45 อันดับสุดท้ายคือ นักศึกษาคิดว่าภาษาอังกฤษช่วยให้ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ได้มากขึ้น มีค่าเฉลี่ย 4.42 และพฤติกรรมการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.89 และทัศนคติมีความสัมพันธ์การใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
References
งานทะเบียนคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (2565). สถิตินักศึกษาคณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2544). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
วันเพ็ญ ภุมรินทร์ และคณะ. (2563). ทัศนคติในการเรียนที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, 15(2), 29-42.
ศุภิกา นิรัติศัย. (2561). ทัศนคติ แรงจูงใจ และพฤติกรรมการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักศึกษามหาวิทยาลัย
ราชภัฏภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(2), 138-170.
Kara, A.(2009). The Effect of a "Learning Theory" Unit on Students towards Learning.
Australian Journal of Teacher Education, 34(3), 100-113.
Karahan, F.(2007). Language attitudes of Turkish students towards the English language and its
use in Turkish context. Journal of Arts and Sciences, 73-87.
Snow, D.. (2007). Sustaining self-directed language learning in the Chinese context. In
J. Liu(Ed), English language teaching in China (pp. 211-230).London : Continuum International Publishing Group
Starks, D and Paltridge, B.. (1996). A note on using sociolinguistic methods on study non-native
attitudes towards English. World Englishes, 15(2), 217-224.
Taro Yamane. (1973 ). Statistics: An Introductory Analysis.3rded. New York (N.Y.) : Harper and Row
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลพระนครวารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาตของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เว้นแต่จะได้รับอนุญาติเป็นอย่างอื่น