This is an outdated version published on 2022-11-21. Read the most recent version.

ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการเรียนในชั้นเรียนปกติและการเรียนออนไลน์แบบกะทันหัน ในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19

ผู้แต่ง

  • ดวงใจชนก พรรษา
  • ปัญจพร พจนปัญญา
  • อธิปัตย์ บุญเหมาะ

DOI:

https://doi.org/10.58837/CHULA.PPJ.37.1

คำสำคัญ:

การเรียนในชั้นเรียน, การเรียนออนไลน, การเรียนออนไลน์แบบกะทันหัน, ความคิดเห็นของนักศึกษา COVID-19

บทคัดย่อ

      สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการเรียนในชั้นเรียนเป็นรูปแบบออนไลน์แบบกะทันหันด้วยการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาต้องค านึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก จึงมีงานวิจัยที่ศึกษาประสบการณ์ของผู้เรียนต่อการเรียนออนไลน์แบบฉุกเฉินมากมาย อย่างไรก็ตาม งานวิจัยส่วนใหญ่มองข้ามประสบการณ์ในชั้นเรียนปกติก่อนหน้านั้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้พิจารณาภาพรวมของการเรียนทั้งสองด้าน งานวิจัยนี้ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่ได้เรียนทั้งในชั้นเรียนปกติและแบบออนไลน์แบบกะทันหันในภาคการศึกษาเดียวกันจ านวน 975 คน จากแบบสอบถามออนไลน์สามประเด็น คือ สัดส่วนรูปแบบการเรียน ข้อดี และข้อด้อยของการเรียนทั้งสองรูปแบบ ผลวิจัยแสดงให้เห็นว่านักศึกษายอมรับการเรียนแบบผสมผสานโดยเสนอให้มีสัดส่วนของการเรียนในชั้นเรียนร้อยละ70 และแบบออนไลน์ร้อยละ30 ในด้านข้อดีและข้อด้อย ในขณะที่ประเด็น 1) ปฏิสัมพันธ์ 2) บรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และ 3) อุปกรณ์และสัญญาณอินเตอร์เน็ต เป็นประเด็นที่ปรากฏร่วมเกี่ยวกับข้อดีของการเรียนในชั้นเรียนและข้อด้อยของการเรียนออนไลน์ ประเด็นด้านการใช้เวลาและค่าใช้จ่ายและการก าหนดเวลาเรียน ปรากฏร่วมเกี่ยวกับข้อดีของการเรียนออนไลน์และข้อด้อยของการเรียนในห้อง ข้อเด่นเฉพาะของการ เรียนออนไลน์คือส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการจัดการการเรียนของตนเอง และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 ส่วนข้อด้อยเฉพาะคือภาระงานที่เพิ่มขึ้นมาก ผลวิจัยนี้ได้ให้ ข้อเสนอแนะส าหรับการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงการสอนทั้งการสอนแบบออนไลน์เต็มรูปแบบในสภาวะฉุกเฉินและการสอนแบบผสมผสานของสองรูปแบบในสภาวะปกติ

References

นุชนาฏ วรยศศรี. (2544). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตพระนครใต้. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการอุดมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด–19. วารสารศิลปะการจัดการ, 4(3), 783-795

ภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์. (2020). จัดการเรียนการสอนอย่างไรในสถานการณ์โควิด-19: จากบทเรียนต่างประเทศสู่การจัดการเรียนรู้ของไทย. สืบค้นจาก

https://tdri.or.th/2020/05/examples-of-teaching-and-learning-in-COVID-19 -pandemic/. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564.

รัชดากร พลภักดี. (2563). การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ COVID-19 . วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19 (1), 1-5

ศุภิกา นิรัติศัย. (2561). ทัศนคติ แรงจูงใจ และพฤติกรรมการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์, 9(2), 138-170

สายสมร เฉลยกิตติ, จินตนา อาจสันเที๊ยะ, มักเดลานา สุภาพร ดาวดี. (2563). ผลกระทบโรคระบาด COVID19 : การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาล. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 36 (2), 255-262

สุนิสา สิงห์แก้ว, ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์. (2563). การใช้เทคนิคการสอนของอาจารย์สายสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ช่วงการระบาดของไวรัสโควิดในประเทศระยะแรก. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 35 (3), 131-141

อมรา ติรศรีวัฒน์. (2563). การประเมินข้อดีและข้อด้อยของการจัดการเรียนการสอนบัญชีออนไลน์ในวิชาด้านการบัญชี โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ : ในสถานการณ์ของการรักษาระยะห่างทางสังคมช่วงโรคระบาด COVID-19 . วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 9(2), 179-194.

Angelova, M. (2020). Students’ attitudes to the online university course of management in the context of COVID-19 . International Journal of Technology in Education and Science (IJTES), 4(4), 283-292.

Bailey, D. R., & Lee, A. R. (2020). Learning from experience in the midst of COVID-19 : benefits, challenges, and strategies in online teaching. Computer-Assisted Language Learning Electronic Journal, 21(2), 178-198.

Daniel, M. O. R. T. A. L. I. (2021). Increasing blended Learning in Post-COVID-19 EFL Courses. Shizuoka University of Art and Culture Bulletin, 21, 187-192.

Ellis, R. (1994). Second Language Acquisition. Oxford: Oxford University Press

Gardner, R.C., & Lambert, W.E. (1972). Attitudes and motivation in second language learning. Newbury House.

Gardner, R. C. (1985). Social psychology and second language learning: The role of attitudes and motivation. London: Edward Arnold.

Hussein, E., Daoud, S., Alrabaiah, H., & Badawi, R. (2020). Exploring undergraduate students’ attitudes towards emergency online learning during COVID-19 : A case from the UAE. Children and Youth Services Review, 119, 105699.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-08 — Updated on 2022-11-21

Versions

How to Cite

พรรษา ด. ., พจนปัญญา ป., & บุญเหมาะ อ. (2022). ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการเรียนในชั้นเรียนปกติและการเรียนออนไลน์แบบกะทันหัน ในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19. วารสารภาษาปริทัศน์, (37), 1–23. https://doi.org/10.58837/CHULA.PPJ.37.1 (Original work published 8 มิถุนายน 2022)

ฉบับ

บท

Research Articles