การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

คำแนะนำผู้แต่ง

คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับบทความ

การเสนอผลงานเพื่อตีพิมพ์

  1. ผลงานที่ส่งมาพิจารณาตีพิมพ์ต้องเป็นบทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ บทวิจารณ์หนังสือ ที่เกี่ยวข้องกับ “การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ” และ “ภาษาศาสตร์ภาษาอังกฤษ” ที่ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน ทั้งนี้การพิจารณาผลงานเพื่อตีพิมพ์อยู่ในดุลยพินิจของกองบรรณาธิการ และผ่านการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิประจำวารสาร
  2. ผลงานที่เสนอพิจารณาตีพิมพ์ ผู้เขียนสามารถเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ สำหรับภาษาอังกฤษ ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของภาษาและไวยากรณ์ก่อนส่งมาพิจารณา
  3. ผลงานที่เสนอพิจารณาตีพิมพ์ควรมีความยาวไม่เกิน 20 หน้ากระดาษ A4 (รวมเอกสารอ้างอิง) พิมพ์ด้วย Font Thai SarabunPSK ขนาด 16 Point
  4. ผู้เขียนส่งต้นฉบับเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อย่างละ 1 ชุด และ biodata กรณีมีผู้เขียนมากกว่า 1 คน ให้ระบุผู้รับผิดชอบบทความ (corresponding author) ด้วย ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เขียนชื่อแรก จากนั้นส่งต้นฉบับทาง
    • ระบบส่งต้นฉบับออนไลน์ที่เว็บ culi.chula.ac.th  
    • จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมแนบไฟล์ต้นฉบับถึง [email protected]
  1. ผู้เขียนบทความควรใช้รูปแบบการเขียนบทความและสำนวนภาษาที่เหมาะสมกับลักษณะของบทความทางวิชาการที่เป็นที่ยอมรับทั่วไป ไม่มีการคัดลอกผลงานผู้อื่น และมีการตรวจทานต้นฉบับแล้วเป็นอย่างดีทั้งด้านรูปแบบ การสะกด และไวยากรณ์
  2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ และสามารถตรวจสอบสถานะของบทความได้ที่[email protected] อย่างไรก็ดี บทความที่แก้ไขต้นฉบับเสร็จเรียบร้อยก่อนอาจได้รับการพิจารณานำลงตีพิมพ์ก่อน
  3. บทความที่ได้รับการตอบรับเพื่อตีพิมพ์ในวารสารภาษาปริทัศน์ สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว จะต้องไม่ปรากฏในสิ่งพิมพ์อื่นใดก่อนที่จะปรากฏในวารสารภาษาปริทัศน์สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  4. กองบรรณาธิการจะส่งวารสารที่มีบทความของผู้เขียนตีพิมพ์ให้แก่ผู้เขียนจำนวน 1 ฉบับ หากผู้เขียนต้องการได้บทความที่ตีพิมพ์เพิ่มเติม สามารถดาวน์โหลดหรือสั่งซื้อได้ที่หน้าเว็บไซต์ของสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (culi.chula.ac.th)
  5. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารภาษาปริทัศน์สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนบทความ และสถาบันภาษา ผู้ใดต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและสถาบันภาษาก่อน

การเรียงลำดับหัวข้อบทความวิจัย  

ชื่อเรื่อง (ตรงกลาง)  ชื่อเรื่องควรมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 

ชื่อผู้เขียน (ชิดซ้าย)  

บทคัดย่อ (ชิดซ้าย) สรุปเนื้อหาของบทความให้ได้ใจความชัดเจน มีการสรุปสาระสำคัญของเรื่องโดยเฉพาะวัตถุประสงค์ วิธีการ และผลการวิจัยและ ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 15 บรรทัด สำหรับบทคัดย่อภาษาอังกฤษผู้เขียนต้องตรวจสอบความถูกต้องทางไวยากรณ์และการใช้ภาษาก่อนส่งมาพิจารณา (การเยื้อง ซ้าย: 1.27 ซม.ม หน้าลอย: 2.22 ซม.)

คำสำคัญ (ชิดซ้าย)   ระบุคำประมาณ 4-6 คำ ที่เป็นคำสำคัญของเนื้อหาเหมาะสำหรับนำไปใช้เป็นคำต้นในระบบฐานข้อมูล

บทนำ (ชิดซ้าย)   เป็นการอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของปัญหาและเหตุผลที่นำไปสู่การวิจัยข้อมูลทางวิชาการและการวิจัยสนับสนุนหรือ โต้แย้ง รวมถึงแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และมีการระบุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการวิจัยอย่างชัดเจน  (การเยื้อง ซ้าย: 1.27 ซม.ม หน้าลอย: 2.22 ซม.)

วิธีดำเนินการวิจัย (ชิดซ้าย)  อธิบายถึงกระบวนการดำเนินการวิจัยและแนวทางในการวิเคราะห์อย่างละเอียดและชัดเจน

ผลการวิจัย (ชิดซ้าย)      เสนอผลการวิจัยที่ตรงประเด็นตามลำดับขั้นของการวิจัย  ไม่ควรมีภาพตารางหรือแผนภูมิเกิน 5 ภาพ โดยต้องมีการแปลความหมายและวิเคราะห์ผลที่ค้นพบอย่างชัดเจน และต้องมีการใส่เลขและชื่อกำกับแต่ละตาราง

อภิปรายผล (ชิดซ้าย) ตอบคำถามงานวิจัย เปรียบเทียบและตีความผลการวิจัยให้เข้ากับหลักทฤษฎี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง อาจระบุข้อจำกัดของงานวิจัยและคำแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจทำวิจัยในศาสตร์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง (กรุณาแยกส่วนของผลการวิจัยและการอภิปรายผลออกจากกันเป็นสองส่วน)

สรุป (ชิดซ้าย)  สรุปสาระสำคัญของผลการวิจัยและให้ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยนั้นไปใช้ประโยชน์

 

เอกสารอ้างอิง (ชิดซ้าย) ใช้ระบบการอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association) ฉบับพิมพ์ ครั้งที่ 7 (APA 7th  edition)

หมายเหตุ: ในแต่ละหัวข้อหลักอาจมีการแบ่งเป็นหัวข้อย่อยได้ แต่ทั้งนี้ หัวข้อย่อยต้องมีระดับหัวข้อ (levels of heading) ไม่ตรงกับหัวข้อหลัก

การอ้างอิงในเนื้อหา ให้ใช้รูปแบบ ดังนี้

ภาษาไทย     (ชื่อ-นามสกุลผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์, เลขหน้า)

ภาษาอังกฤษ (นามสกุลผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์, เลขหน้า) 

ตัวอย่าง 

(สุพัฒน์ สุกมลสันต์, 2545, 45)

(Jeffries & McIntyre, 2010)

(Norgaard, Montoro, & Busse, 2010)

(Jeffries & McIntyre, 2010; Norgaard, Montoro, & Busse, 2010)

 

นโยบายส่วนบุคคล

The names and email addresses entered in this journal site will be used exclusively for the stated purposes of this journal and will not be made available for any other purpose or to any other party.