การสร้างคำภาษาอังกฤษในสื่อโฆษณากลางแจ้งของไทย

ผู้แต่ง

  • นันทวดี วงษ์เสถียร

คำสำคัญ:

การสร้างคำภาษาอังกฤษ, การวิเคราะห์คำศัพท์, สื่อโฆษณากลางแจ้ง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการสร้างคาภาษาอังกฤษที่ปรากฏในสื่อโฆษณากลางแจ้งที่พบบนถนนสายหลัก และห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพมหานครผลการศึกษาพบสื่อโฆษณากลางแจ้งที่มีการใช้คาภาษาอังกฤษในการสร้างสรรค์ชิ้นงานโฆษณาจานวน 36 ชิ้นงาน มีวิธีการสร้างคาใหม่จำนวน 39 คา จากตัวอย่างการสร้างคำภาษาอังกฤษที่พบในชิ้นงานโฆษณา จานวน 53 ตัวอย่าง โดยพบการสร้างคาภาษาอังกฤษในส่วนของคาขวัญ หรือ คำขวัญ และชื่อตราสินค้าในสื่อโฆษณาสินค้าประเภทเสื้อผ้า รถยนต์และรองเท้า มากที่สุด วิธีการสร้างคาที่พบ ได้แก่ วิธีการการสร้างคาในลักษณะ Morphological word formation โดยการผสมหรือประสมคาระหว่างรากศัพท์ตั้งแต่สองคำขึ้นไป (Compounding) พบมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 37.74 รองลงมา ได้แก่ การใช้วิธีการสร้างคำหลาย ๆ วิธีรวมกัน (Multiple processes) คิดเป็นร้อยละ 13.21 อันดับสาม ได้แก่ การประสมบางส่วนของคำ (Blending) และการสร้างคำในลักษณะ Neologism โดยการขอยืมคำมาจากภาษาอื่น (Loanword) คิดเป็นร้อยละ 7.55 ถัดมา คือการสร้างคำในลักษณะ Morphological word formation โดยการเติม affix ในรากศัพท์ (Derivation/Affixation) การตัดคำให้สั้นลงโดยไม่เปลี่ยนความหมายและหน้าที่ของคำนั้นๆ (Clipping) การเปลี่ยนหน้าที่ของคาแต่ยังคงรูปเดิมของคำไว้ (Conversion) คิดเป็นร้อยละ 5.66 การสร้างคำในลักษณะ Morphological word formation โดยการสร้างคำใหม่ด้วยวิธีการย้ายaffix ทาให้คำที่สร้างขึ้นใหม่เปลี่ยนหน้าที่หรือชนิดของคำและมีความหมายเปลี่ยนไป (Backformation) และการนาอักษรตัวแรกของคาต่างๆ มารวมกัน (Acronyms) คิดเป็นร้อยละ 3.77 ท้ายสุด คือการนาคามาเปลี่ยนการสะกดใหม่แต่คงเสียงเดิมไว้ (Creative respelling) และการเติม suffix หลังคานามเพื่อแสดงรูปพหูพจน์ (Inflections) คิดเป็นร้อยละ 1.89 ตามลาดับ นอกจากนี้ยังพบการสร้างคำด้วยวิธีอื่น ๆ ที่ไม่ตรงกับทฤษฎีการสร้างคำใดๆ คือ วิธีการสร้างคำโฆษณาด้วยสำนวนและประโยค คิดเป็นร้อยละ 5.66 ทั้งนี้ ไม่พบวิธีการขอยืมคำหรือวลีจากภาษาอื่นโดยการแปลคำต่อคำมาเป็นการออกเสียงในภาษาอังกฤษ (Calques หรือ Loan Translation

References

การวิเคราะห์สื่อ. (27 มิถุนายน 2560). http://www.slideshare.net/rainacid/ss-4929282

การสร้างคำ (Word Formation) (27 มิถุนายน 2560). http://th.wikipedia.org

ปิยานุช พู่เกล้า และ นภาศรี ทิมแย้ม. (2555). Word Formation Processes of Neologisms Found in Women Cosmetic Advertisement in Women

Magazines. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ. 19(1), 197-214.

ภัทรินทร์ ทยะราษฎร์. (2551). การศึกษาการสร้างคาและกลวิธีการเขียนข้อความพาดหัวโฆษณาในนิตยสารผู้หญิง. วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย. 2(3), 94-108.

รุ่งนภา พิตรปรีชา. (2547). “องค์ประกอบของการโฆษณา” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาหลักการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ หน่วยที่ 1-7. (พิมพ์ครั้งที่ 7). นนทบุรี:

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รุ่งรัตน์ ชัยสาเร็จ. (2557). การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วงหทัย ตันชีวะวงศ์. (2554). การโฆษณาข้ามวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรวุฒิ ภักดีบุรุษ. (2552). ศิลปะการใช้ภาษาเพื่องานนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น.

สื่อโฆษณา. (27 มิถุนายน 2560) http://th.wikipedia.org

อมรา ประสิทธิ์รัฐสิทธ์. (2541). ภาษาศาสตร์สังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อวยพร พานิช. (2526). เอกสารการสอนชุดวิชาการสร้างสรรค์และผลิตสิ่งโฆษณา หน่วยที่ 1-8. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Aitchison, J. (1994). Words in the Mind: An Introduction to the Mental Lexicon. (2nd ed.) New York: Blackwell.

Anggraeni, D. (2011). Word formation process in outdoor advertisement. Master's degree Thesis. Diponegoro University, Semarang.

Bivins, T. H. (2008). Public Relations writing: the essentials of style and format. (6th ed.) Boston Burr Ridge, IL: McGraw Hill.

Huddleston, R. et al. (2002). The Cambridge Grammar of the English Language. Cambridge: Cambridge Univ. Pr.

Kemmer, S. (2011). Types of Word Formation Processes. http://www.ruf.rice.edu/~kemmer/Words/wordtypes.html

Mustafa, S. Z. B., Kandasamy, M. D/O, & Yasin, M. S. M. (2015). An analysis of word formation process in everyday communication on Facebook. International Journal of Education and Research. 3(6), 261-274.

Nordquist, R. (2010). Word-formation. http://grammar.about.com/od/tz/g/Word-Formation.htm On July 11,

Plag, I. (2003). Word-Formation in English. Cambridge: Cambridge Univ. Pr.

Trigwell-Jones, M. (2010). Commerce. Cambridge: Cambridge Univ. Pr.

Vörös, T. (2010). Creativity in Advertising Slogans Based On Word-Formation. Bachelor paper. University of Pardubice.

Yule, G. (2006). The Study of Language. (3rd ed.) Cambridge: Cambridge Univ. Pr.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-14

ฉบับ

บท

Research Articles