A Narrative Inquiry of a Chinese Novice Teacher’s Professional Identity Development

ผู้แต่ง

  • Siting Ou
  • Wareesiri Singhasir

คำสำคัญ:

การพัฒนาอัตลักษณ์ทางวิชาชีพ, ครูใหม่, การวิจัยแบบใช้เรื่องเล่า

บทคัดย่อ

           การศึกษารายกรณีครั้งนี้เป็นการศึกษากระบวนการพัฒนาอัตลักษณ์ทางวิชาชีพของครูใหม่ชาวจีนซึ่งเป็นอาจารย์ผู้สอนวิชาภาษาจีนพื้นฐานของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศไทย ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลในช่วงการสอนปีแรก โดยเห็นว่าการสร้างอัตลักษณ์ของความเป็นครูและการรับรู้บทบาทในฐานะครูต่างชาติที่ต้องมาท าการสอนในต่างแดนอาจยังเป็นสิ่งใหม่ส าหรับครูผู้สอน การรับรู้ตนเองเกี่ยวกับบทบาทหรืออัตลักษณ์หลัก (Simmons et al,1999; Harmer, 2007, 2015) ในช่วงเวลาต่าง ๆ ถูกน ามาใช้เพื่อสังเกตการพัฒนาอัตลักษณ์ในการท าวิจัยครั้งนี้ รวมไปถึงปัจจัยภายในและภายนอกที่หลากหลาย (Beauchamp & Thomas, 2009) ได้รับการพิจารณาเพื่อระบุปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาอัตลักษณ์ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการบันทึกการสอนของครูใหม่นี้ ได้รับการวิเคราะห์โดยยึดตามเรื่องเล่าจากประสบการณ์ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์เกิดขึ้นในช่วงปีแรกของการสอน และยังกล่าวว่าผู้สอนใช้บทบาทการสอนต่างๆ เพิ่มมากขึ้นในการสอนของภาคศึกษาที่สอง นอกจากนี้ความเชื่อของครูผู้สอนและคุณลักษณะของนักศึกษาได้ถูกเน้นว่าเป็นปัจจัยภายในและภายนอกที่ส าคัญที่สุด การศึกษาครั้งนี้หวังที่จะให้ค าแนะน าแก่ครูใหม่และช่วยให้อาจารย์ที่ท าหน้าที่ให้ค าปรึกษาการสอนเข้าใจความซับซ้อนของการพัฒนาอัตลักษณ์ทางวิชาชีพครู นอกจากนี้ครูใหม่ยังจ าเป็นต้องสร้างมีความตระหนักรู้และพร้อมที่จะยืดหยุ่นและปรับบทบาทการสอนเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมอีกด้วย

References

Astuti, I. W., (2010). A novice teacher’s perceptions of her different roles as an English language teacher. Journal of English and Education, 4(1), 45-63.

Beauchamp, C. , & Thomas, L. (2009) . Understanding teacher identity: An overview of issues in the literature and implications for teacher education. Cambridge Journal of Education, 39(2), 175-189.

Beijaard, D. , Meijer, P. C. , & Verloop, N. (2004) . Reconsidering research on teachers’ professional identity. Teaching and Teacher Education, 20(2), 107-128.

Benson, P., Chik, A. , & Lim, H. (2003) . Becoming autonomous in an Asian context: Autonomy as a sociocultural process. In D. Palfreyman & R.Smith (Eds.), Learner autonomy across cultures: Language education perspectives (pp. 23–40). London: Palgrave Macmillan.

Chong, S., & Low, E.-L. (2009). Why I want to teach and how I feel about teaching: Formation of teacher identity from pre-service to

the beginning teacher phase. Educational Research for Policy and Practice, 8(1), 59-72.

Clandinin, D. J. & Connelly, F. M. (2000). Narrative inquiry: Experience and story in qualitative research. Jossey Bass, San Francisco, pp. 16-28.

Danielewicz, J. (2001) . Teaching selves: Identity, pedagogy, and teacher education. Albany: State University of New York Press.

Day, C. , Kington, A., Stobart, G., & Sammons, P. (2006) . The personal and professional selves of teachers: Stable and unstable identities. British Educational Research Journal, 32(4), 601-616.

Farrell, T. S. C. (2009). The novice teacher experience. In A. Burns & J. Richards (Eds.), The Cambridge guide to language teacher education (pp. 182-189). New York, NY: Cambridge University Press.

Flores, A. M., & Day, C. (2006) . Contexts which shape and reshape new teachers’ identities: A multi-perspective study. Teaching and Teacher Education, 22(2), 219-232.

Gee, J. P. (2000) . Chapter 3: Identity as an analytic lens for research in education. Review of Research in Education, 25(1), 99-125.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-07 — Updated on 2022-04-12

Versions

ฉบับ

บท

Research Articles