ปัญหาและอุปสรรคของโครงการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ผู้แต่ง

  • วิมลสิริ วงษ์วิจิตต์ บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ดั้นดุสิต โปราณานนท์ บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

โครงการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, นโยบายของรัฐ, ปัญหาและอุปสรรค, มาตรการของภาครัฐ , อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

บทคัดย่อ

การวิจัยปัญหาและอุปสรรคของโครงการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานในภาพรวม ปัญหาและอุปสรรคของการปฏิบัติงานตลอดจนเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาในโครงการดังกล่าวฯ ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกผ่านการสร้างข้อคำถามจากข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งการสัมภาษณ์เป็นแบบกึ่งโครงสร้างโดยการเก็บข้อมูลปฐมภูมิจากผู้ที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานบริหารโครงการ จำนวน 15 ท่าน

          จากการศึกษา พบว่า นโยบายและมาตรการของภาครัฐส่งผลต่อการปฏิบัติงาน เนื่องจากเป็นตัวกำหนดรูปแบบการดำเนินงาน ส่งผลต่อการจัดทำงบประมาณ การบริหาร การควบคุมนโยบาย และการประเมินผล ซึ่งส่งผลต่อปัญหาในการบริหารโครงการ คือ ระยะเวลาที่จำกัดตามปีงบประมาณ งบประมาณที่ไม่สอดคล้องในกิจกรรม โครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ รวมไปถึงกฎระเบียบในการปฏิบัติงานของภาครัฐที่ขาดความยืดหยุ่นและการปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ ทำให้การนำนโยบายสาธารณะไปสู่การปฏิบัติในรูปแบบของโครงการยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร และเมื่อพิจารณาตามกระบวนการของวงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle) จะพบปัญหาในขั้นตอนการ Action Plan Do และ Check ตามลำดับ ปัญหาและอุปสรรคอื่นๆ ที่พบ ประกอบด้วย (1) สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ (2) ระบบการบริหารจัดการและการทำงานของภาครัฐ (3) การสื่อสารภายในองค์กรที่ขาดประสิทธิภาพ (4) ระยะเวลาที่จำกัด (5) งบประมาณไม่สอดคล้องกับแผนการดำเนินงาน และ (6) ความไม่ต่อเนื่องของโครงการ เป็นต้น สำหรับข้อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว อาทิ การสร้างความต่อเนื่องและการวางแผนกลยุทธ์โครงการในระยะสั้น กลาง และยาว เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง การบูรณาการเชื่อมโยงโครงการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการศึกษาความต้องการของ SMEs เพื่อให้โครงการตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการ เป็นต้น

References

Deming, W. E. (1986). Out of the crisis: Quality. Productivity and Competitive Position, Massachusetts, USA.

Department of Trade Negotiations. (2021). Textile and garment industry of Thailand (Coordinates 50 – 63). Retrieved from https://api.dtn.go.th/files/v3/614af404ef414086c82031bf/download

Jantarasorn, W. (2011). Theory of public policy implementation. (5th edition) Bangkok: Graphic sweet pepper.

Office of the National Economics and Social Development Council. (2018). 20-Year National. Retrieved from https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf

Ontam, N. (2019). PDCA (Deming Cycle) Management Techniques. Journal of Association of Professional Development of Educational Administration of Thailand (JAPDEAT), 3(1), 39-46.

Sinsanwit, Y. (2020). "Textile-Garment" exports come back up to 3,000 factories at full capacity. Retrieved from https://www.thansettakij.com/economy/509077

Srisuponvanit, S., Kulnides, N., and Somjai, S. (2020). Factors influence competence development of textile and apparel entrepreneurs for ASEAN competition. Journal of the Association of Researchers, Humanities and Social Sciences, 23(3), 75-86.

Ueakan, C., Ngamsanit, S., Phinyoananphong, B., and Loetphani, P. (2014). Guidelines for promotion and development of Thai textile industry for global competition. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkorn Rajabhat University, 8(1), 35-50.

Van Meter, D. S., and Van Horn, C. E. (1975). The policy implementation process: A conceptual framework. Administration & Society, 6(4), 445-488.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-16

How to Cite

วงษ์วิจิตต์ ว., & โปราณานนท์ ด. . (2022). ปัญหาและอุปสรรคของโครงการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม. วารสารกลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร, 1(3), 66–78. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/STECOJournal/article/view/1930