ความคาดหวังการขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง และรื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคาร ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชนในเขตอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • สุเมธ ดวงแก้ว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • เมงลิม ฮอย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ขวัญกมล ดอนขวา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คำสำคัญ:

ความคาดหวัง, การขออนุญาตก่อสร้าง, ระบบอิเล็กทรอนิกส์, จังหวัดนนทบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องความคาดหวังการขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง และรื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชนในเขตอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี วัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังการขออนุญาตก่อสร้างดัดแปลง และรื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคาร ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชนในเขตอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และ 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยด้านประเภทของผู้ขออนุญาต ระดับการศึกษา และอาชีพของประชาชนที่มายื่นขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง และรื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารมีผลต่อระดับความคาดหวังในการด้านความพร้อมใช้งานของระบบอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่อำเภอปากเกร็ด จำนวนทั้งหมด 100 ตัวอย่าง อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ที่มายื่นขอรับบริการ ทำการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็นด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน อีกทั้งใช้สถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบ T-test และ F-test

ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมระดับความคาดหวังของประชาชนในเขตอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ในด้านความพร้อมใช้งานระบบการขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับมาก (3.77) โดยมีปัจจัยด้านคุณภาพซึ่งประกอบไปด้วยด้านความเป็นรูปธรรม ความน่าเชื่อถือ ด้านการตอบสนองความต้องการ ด้านความไว้วางใจได้ และด้านการให้ความสำคัญอยู่ในระดับมากทุกปัจจัย ด้วยค่าเฉลี่ย 3.80 3.74 3.87 3.72 และ 3.71 ตามลำดับ ผลการวิจัยยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป้าหมายไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไปหรือกลุ่มบริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด/ผู้รับมอบอำนาจในการขออนุญาต มีการศึกษาและการประกอบอาชีพที่แตกต่างกัน จะมีระดับความคาดหวังด้านความพร้อมใช้งานผ่านระบบดังกล่าวไม่แตกต่างกันในปัจจัยคุณภาพทั้ง 5 ด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยของระดับความคาดหวังอยู่ในระดับมากทุกด้าน ผลการวิจัยทำให้หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบอิเล็กทรอนิกส์สามารถนำไปใช้ในการพิจารณาถึงระดับความพร้อมของประชาชน ปัญหาและอุปสรรค เพื่อนำมาวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขและปรับใช้ตามความเหมาะสม

References

Bangkokbiznews. (2021). BIZ PORTAL, The government service center for the business sector. Retrieved from https://www.bangkokbiznews.com/business/935461

Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of retailing, 64(1), 12-40.

Digital Government Development Agency. (2022). Leading the public sector to become a digital government. Retrieved from https://www.dga.or.th/home/

ECOTEC Research and Consulting Limited. (2007). A Handbook for Citizen-centric eGovernment. (Version 2.1). Retrieved from https://joinup.ec.europa.eu/sites/default/files/document/2014-12/media1781.pdf

Electronic Transactions Development Agency. (2022). ETDA explores 5 model countries of digital government to develop e-government to create state-of-the-art services for citizens. Retrieved from https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/5e-Government.aspx

Inphirom, S., Thamrongsinthaworn, S., Sanglimsuwan, S., and Ananthanond, S. (2021). A study on the acceptance of the use of e-tax invoice and e-receipt systems. RMUTSB Academic Journal (Humanities and Social Sciences), 6(2), 212-227.

Keandoungchun, N., and Donkwa, K. (2019). Influence of attitude and intention on consumer behavior of goods purchasing via line. Suranaree Journal of Social Science, 13(2), 58–78. https://doi.org/10.55766/PMXS4439

Keawsaen, V., Taweechan, S., Rate., and Ittichinbanchorn, N. (2018). Impact of using the government accounting program (FORMULA) on quality of financial statements of Mahachulalongkornrajavidyalaya University in Thailand. Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences, 2(3), 50-61.

Khantichoti, P. and Suriyarpa, C. (2018). The implementation of SAP to enhance operational efficiency. Kasem Bundit Journal, 19(October), 47–62.

Khanthanurak, S. and Ekudompong, P. (2017). Development of Causal Model of Factors Effecting Motivation to use hi-Speed Internet. Journal of Industrial Education, 16(2), 72–80.

Nonthaburi Provincial Statistical Office. (2022). Number of persons permitted for new construction and addition or modification of buildings and non-house buildings in 2021 Pakkret District, Nonthaburi Province. Nonthaburi Province: Nonthaburi Provincial Statistical Office.

Office of the Public Sector Development Commission. (2019). Project to enhance the development of comprehensive electronic government services to juristic persons (Central Biz Box). Retrieved from https://www.opdc.go.th/content/NTYzMA

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., and Berry, L. L. (1985). A conceptual model of service quality and its implications for future research. Journal of marketing, 49(4), 41-50.

Poungpakeesiri, P. and Poungpakeesiri, N. (2018). Serving government information servers with FreeBSD UNIX operating system. Academic Journal Uttaradit University, 13(1), 31-45.

Rovinelli, R. J., and Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Segkhoonthod, S. (2017). Driving government agencies under the digital government development plan. Retrieved from https://www.dga.or.th/wp-content/uploads/2016/12/file_c77c118f554dfa976fde89b3247b4fe8.pdf

Sornphet, M. (2022). The online lesson on infographic design on website computer technology course 6 using by computer package program to develop learningachievement of Matthayomsuksa 6 students at Chumchon Thetsaban 3 School (Phinit Phitthayanuson). Journal of Engineering Technology Access, 2(2), 82–92.

Srikamdon, Y., and Penvutikul, P. (2021). Factors affecting efficiency evaluation of accounting software adoption by Court of Justice. Academic Journal Bangkokthonburi University, 10(2), 1–13.

Sutapod, R., Narintarakul Na Ayuthaya, A., Shoosnuk, A., and Numprasertchai, S. (2017). The influence of system quality on system usage, user satisfaction and net benefits for users of the navis system of Laem Chabang Deep Water Seaport. Suranaree Journal of Social Science, 11(2), 145–162. https://doi.org/10.55766/ACNT4439

Tavakol, M., and Dennick, R. (2011). Making sense of Cronbach’s alpha. International Journal of Medical Education, 2, 53-55.

Tejangkura, N. (2021). Some observations on the digital public adminisration and services under the digital adminisration and services act B.E. 2562. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 12(1), 345-364.

The Association of Siamese Architects under Royal Patronage. (2016). Building Laws. Retrieved from https://asa.or.th/laws-and-regulations/

Yamane, T. (1967). Problems to accompany " Statistics, an introductory analysis". Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-26

How to Cite

ดวงแก้ว ส. ., ฮอย เ., & ดอนขวา ข. (2023). ความคาดหวังการขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง และรื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคาร ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชนในเขตอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารกลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร, 2(4), 32–47. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/STECOJournal/article/view/2223