แนวทางการจัดการองค์กรภายใต้ความหลากหลายด้านวัฒนธรรมเพื่อรักษาพนักงาน Gen Y ของบริษัทร่วมทุนไทย-ญี่ปุ่น
คำสำคัญ:
ความผูกพันต่อองค์กร, ความพึงพอใจในงาน, พนักงาน Gen Yบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกจากงานพนักงานกลุ่ม Gen Y และเพื่อศึกษาแรงจูงใจต่อการทำงานของพนักงานบริษัทร่วมทุนไทย-ญี่ปุ่น เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาพนักงาน Gen Y อันจะก่อเกิดประโยชน์ภายในองค์กร การวิจัยใช้วิธีเชิงปริมาณด้วยการเก็บข้อมูลแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานกลุ่ม Gen Y ในบริษัทร่วมทุนไทย-ญี่ปุ่น ที่มีอายุระหว่าง 21-38 ปี (เกิดในช่วง พ.ศ. 2524 - 2543) จำนวน 76 คน ในบริษัทกรณีศึกษาแห่งหนึ่ง เป็นโรงงานผลิตกระจกแผ่นใสและกระจกแปรรูป ตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกจากงานของพนักงานกลุ่ม Gen Y ในบริษัทร่วมทุนไทย-ญี่ปุ่น ได้แก่ ความเจริญก้าวหน้าในองค์กร ค่าตอบแทน และเพื่อนร่วมงาน สำหรับปัจจัยที่ทำให้การพนักงานกลุ่ม Gen Y ในบริษัทร่วมทุนไทย-ญี่ปุ่นมีความตั้งใจลาออก คือ การที่พนักงานรู้สึกไม่มีความก้าวหน้า งานที่ทำไม่มีความเหมาะสมกับสิ่งที่เรียนหรืออยากทำ และงานไม่สอดคล้องกับค่าตอบแทน ปัจจัยอื่นๆ รองลงมา ได้แก่ สภาพแวดล้อมในการทำงาน และเงื่อนไขในการปฏิบัติงานส่งผลให้พนักงาน Gen Y ลาออก สำหรับแนวทางจัดการ คือ บริษัทควรมีการวางแผนเส้นทางสายอาชีพ (Career Path) ให้กับพนักงาน เพิ่มทักษะและพัฒนาหัวหน้างานให้รู้จักวิธีการสอนงาน (Coaching) และปรับปรุงกฎระเบียบข้อบังคับของบริษัทให้มีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับพนักงานกลุ่ม Gen-Y เพื่อรักษาพนักงานกลุ่ม Gen-Y ให้อยู่กับบริษัทอย่างยาวนาน
References
Anviset, J., and Rahothan, J. (2019). Factors affecting intention to quit of generation y staff in Autopart manufacturers in Laemchabang Industrail estate. Journal of Graduate Research Sripatum University, 10(1), 205-217.
Fukofuka, S. (2014). Factors that predict employee retention in profit and not-for-profit organizations. Global Journal of Human Resource Management, 2(4), 1-8.
Herzberg, F., Mausner, B., and Snydermann B. (1959). The motivation to work. New York: Wiley.
Herzberg, F. (1966). Work and the nature of man. New York: World Publishing.
Hewitt, A. (2015). 2015 Trends in global employee Engagement. Retrieved from https://www.aonhumancapital.com.au/getmedia/9228ab41-852b-4c50-abc6-4caa3529c86e/2015-Trends-in-global-employee-engagement.pdf
Hong, E. N. C., Hao, L. Z., Kumar, R., Ramendran, C., and Kadiresan, V. (2012). An effectiveness of human resource management practices on employee retention in institute of higher learning: A regression analysis. International journal of business research and management, 3(2), 60-79.
Imai, H., and Tomofumi, A. (2012). Toyota's Overseas Management. Post Books.
Imna, M., and Hassan, Z. (2015). Influence of human resource management practices on employee retention in Maldives retail industry. International Journal of Accounting, Business and Management, 1(1), 54-87.
Jutharat, A., Jiraporn, R., (2019). Factors Affecting Intention to Quit of Generation Y Staff in Autopart Manufacturers in Laemchabang Industrail Estate. Journal of Graduate Research Sripatum University, 10(1), 206-208.
Mehta, M., Kurbetti, A., and Dhankhar, R. (2014). Review Paper-Study on Employee Retention and Commitment. International Journal of Advance Research in Computer Science and Management Studies, 2(2), 154-164.
Ministry of Foreign Affairs of Japan. (2017). Relations between Japan and Thailand. Retrieved from https://www.th.emb-japan.go.jp/itpr_th/relation_index.html
Pajchamat, P. (2018). The factors relating job satisfaction affected to employee retention of Japanese financial service company. College of Management Mahidol University.
Rojarayanon, B. (2004). Know Thai, understand Japanese. Bangkok: TPA Press.
Thiptiampong, K. (2016). 559). Culture (?) Work of Japanese people. Retrieved from https://mgronline.com/japan/detail/9590000121106.
Yamane, T. (1973). Statistics. An introductory analysis. (3rd Edition). New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารกลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่าง ๆ ในวารสารกลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้น ๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใด ๆ ของศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา และรูปภาพ ฯลฯ ในวารสารกลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีก่อนเท่านั้น