การพัฒนาศักยภาพคนพิการของจังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
การพัฒนา, ศักยภาพ, คนพิการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาศักยภาพคนพิการของจังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาศักยภาพคนพิการของจังหวัดอุดรธานี และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพคนพิการของจังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 คน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลภาครัฐ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และสถิติเชิงอนุมานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับขั้นและการพรรณนา จำแนกข้อมูล จัดทำบรรณาธิกรณ์ข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล เขียนเป็นรายงานตามวัตถุประสงค์ ประกอบการอภิปรายผล
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการพัฒนาศักยภาพคนพิการของจังหวัดอุดรธานี โดยรวมทุกด้าน พบว่า ระดับการพัฒนาศักยภาพคนพิการของจังหวัดอุดรธานีอยู่ในระดับ ปานกลาง ( = 3.04) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านความปลอดภัย (
= 3.08) ด้านการวางแผน (
= 3.03) และด้านสภาพแวดล้อม (
= 3.01) ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาศักยภาพคนพิการของจังหวัดอุดรธานี โดยรวมทุกด้าน พบว่า ด้านบทบาทท้องถิ่น ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ ด้านบทบาทจากภาคีเครือข่าย มีค่าของอิทธิพลต่อการพัฒนาศักยภาพคนพิการ เท่ากับ 0.596, 0.358, และ 0.220 ตามลำดับ 3) แนวทางการพัฒนาศักยภาพคนพิการ อาทิ การจัดการและมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวก สวัสดิการและการรักษาพยาบาล ปรับปรุงสภาพแวดล้อม ปรับภูมิทัศน์ สามารถเข้าถึงสิทธิตามกฎหมายและหน่วยงานรัฐ การป้องกันการแสวงหาประโยชน์และการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ เป็นต้น
References
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th Edition). New York: Harper Collins.
Hammerman, S., and Maikowski, S. (1981). The economics of disability: International perspectives.
Intaphanom, S. and Rattanadilok, Na Bhuket, P. (2021). The Variety of Institutional Logics under Community - Based Rehabilitation Project in Thailand. Journal of Rajasuda College for Research and Development of Persons with Disabilities, 17(1), 50-71.
International Labour Organization (ILO). (2007). Persons with Disabilities Empowerment Act, B.E. 2550. Royal Thai Government Gazette, 124(61), 8-24.
Janejitvanich, J., and Pattanapakdee, N. (2020). Factors that Effect to Quality of Work Life of Persons with Physical Disabilities who work in Private Organization. Journal of Ratchasuda College, Research and Development of Persons with Disabilities, 16(2), 4-17.
Khamkhieo, P., and Singhasem, S. (2019). Improving the quality of life of people with physical disabilities. Case study of Ban Mai Samakkhi Subdistrict, Chai Badan District, Lopburi Province. Independent research Master of Political Science, Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University.
Kitpreedasaburi, B. (2008). Social science research methods. Bangkok: Chamchuri Products.
Kotler, P., and Armstrong, G. (1994). Marketing management, analysis, planning, implementation, and control, Philip Kotler. London: Prentice-Hall International.
Leaungsomnapa, Y., Promproh, S., and Khanwiset, S. (2011). Quality of life,problems and needs's disable persons in responsibilty of Thachang subdistrict administrative organization, Chanthaburi Province. Journal of Prapokklao Hospital Clinical Medical Education Center, 28(2), 98-109
National Office for Empowerment of Persons with Disabilities (NEP). (2007). Persons with Disabilities Empowerment Act, B.E. 2550. Bangkok: NEP.
National Office for the Promotion and Development of Quality of Life for Persons with Disabilities. (2013). Convention on the Rights of Persons with Disabilities. Bangkok: Jia Hua Juristic Person Ordinary Partnership.
Phongsawang, A., and Sunthon, S. (2021). Factors affecting the quality of life of people with hearing or communication disabilities in Saraburi Province. Journal of Modern Learning Development, 6(6), 104-117.
Sungsin, S. (2019). Access to the rights of disabled persons under the empowerment of persons with disabilities act, b.e.2550 in Mueang Phetchaburi District, Phetchaburi. Lawasri Journal, Thepsat Rajabhat University, 3(2), 71-84.
Tinnabutra, V. (2016). Guidelines for developing the quality of life of wheelchair disable persons in Bangkok Metropolitan and surrounding provinces. Payap University Journal, 26(1), 207-232.
World Health Organization. (2001). WHO Health and Health System Responsiveness Survey. Retrieved January 5, 2011, from http://www.who.int/responsiveness/en/
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารกลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่าง ๆ ในวารสารกลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้น ๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใด ๆ ของศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา และรูปภาพ ฯลฯ ในวารสารกลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีก่อนเท่านั้น