สถาปัตยกรรมข้อมูลสำหรับธนาคารดิจิทัล
คำสำคัญ:
สถาปัตยกรรมข้อมูล, คุณภาพข้อมูล, กระบวนการบริหารจัดการข้อมูล, ธนาคารแห่งประเทศไทยบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำสถาปัตยกรรมข้อมูลสำหรับธนาคารดิจิทัล และเพื่อประเมินคุณภาพข้อมูล เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากข้อมูลที่ไม่มีคุณภาพ ทั้งในแง่ของตัวเงิน ชื่อเสียง รวมไปถึงประสิทธิภาพในการนำข้อมูลไปใช้เพื่อวิเคราะห์และตัดสินใจ และเพิ่มมุมมองในการใช้ข้อมูล เพื่อให้สามารถเข้าใจความต้องการของลูกค้า และนำเสนอผลิตภัณฑ์ หรือบริการได้อย่างแม่นยำ โดยการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับชุดข้อมูลหรือรายงานที่สำคัญ (CDE) ที่ไม่ซ้ำกัน บนระบบ Data Lake (มกราคม ถึง สิงหาคม 2565) จำนวน 3 ชุดข้อมูลที่ใช้งานบ่อย จากนั้นนำมาพัฒนาสถาปัตยกรรมข้อมูล ผ่านกระบวนการบริหารจัดการข้อมูล โดยใช้แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพข้อมูล ตามนโยบายการกำกับดูแลข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ผลการศึกษาพบว่า มีชุดข้อมูลที่สำคัญจำแนกออกเป็น 3 ชุดข้อมูล (Data Domain) ได้แก่ ชุดข้อมูลลูกค้า ชุดข้อมูลเงินฝาก และชุดข้อมูลสินเชื่อ สาเหตุของปัญหาด้านคุณภาพของข้อมูลที่สำคัญ คือ 1) ข้อมูลไม่เป็นปัจจุบัน 2) ข้อมูลไม่เป็นมาตรฐานและไม่สอดคล้องกับหลักการด้านสถาปัตยกรรมข้อมูล รวมถึงมาตรฐานด้านคุณภาพข้อมูล เช่น สาขากรอกข้อมูลไม่ถูกต้องและไม่ครบถ้วน ในกรณีสินเชื่อ เช่น ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา ต้องมีชื่อและเลขที่บัตรประชาชน ส่วนลูกค้านิติบุคคลจะแยกย่อยประเภทนิติบุคคล เช่น บริษัท ห้าง ร้าน เป็นต้น จากนั้นเมื่อดำเนินการประมวลผลการประเมินคุณภาพข้อมูล (Data Quality Scorecard) ผู้ศึกษาได้ทำการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวไปรายงานผลประเมินคุณภาพข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมและติดตามข้อมูลในการบริหารจัดการปัญหาด้านคุณภาพข้อมูลให้กับผู้ดูแลคุณภาพข้อมูล (Data Quality Steward) และดำเนินการแจ้งเจ้าของข้อมูล (Data Owner) หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สาขาให้แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องภายใต้ SLA ที่กำหนด
References
Bank of Thailand. (2020). A guide to using blockchain technology in financial management. Retrieved from https://www.bot.or.th/th/news-and-media/news/news-20210727.html
Bank of Thailand. (2022). COVID-19 Crisis. Retrieved from https://www.bot.or.th/th/our-roles/special-measures/covid-19.html
Government Savings Bank. (2023). Direction of important policies and plans. Retrieved from https://www.gsb.or.th/about/plc/
Henderson, D., Earley, S. and Sebastian-Coleman, L. (2017). DAMA-DMBOK: Data Management Body of Knowledge. Technics Publications.
Kornsud, W. (2018). Organizational style changes with digital process case study of a Commercial Bank. Master of science digital policy and management college of innovation, Thammasat University.
Loetpipatwanich, S. (2021). The development of data quality audit system. Master of Science (Applied Statistics), National Institute of Development Administration.
National Science and Technology Development Agency. (2020). Data Governance Framework. Retrieved from https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/data-governance-framework
Phupatarakit, T. (2017). Research for design data management system framework and architecture for big data case study: Bank of Thailand. Science information technology policy and management college of innovation, Thammasat University.
Wiphak, R., Turnbow, N., and Sivina, S. (2017). The quality management model for 43 public health data folders in primary care unit network at Chaturaphakphiman District, Roi-Et Province. Journal of Nursing and Health Research, 18(2), 69–83. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/95918

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารกลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่าง ๆ ในวารสารกลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้น ๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใด ๆ ของศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา และรูปภาพ ฯลฯ ในวารสารกลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีก่อนเท่านั้น