ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาดบริการ, ความพึงพอใจ, โรงพยาบาลเอกชนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบปัจจัยประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 2) ทดสอบผลกระทบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ใช้แบบสอบถาม โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ด้วยวิธีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกทางเดียว (F-Test) และการวิเคราะห์แบบถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการทดสอบสมติฐาน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่มีอายุ 31 – 40 ปี มีการศึกษาปริญญาตรี ส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือน 15,001 – 35,000 บาท และส่วนใหญ่ใช้สิทธิประกันสุขภาพ/ประกันชีวิต โดยมีระดับความคิดเห็นปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับ มาก และระดับความพึงพอใจการใช้บริการโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับ มาก นอกจากนี้ พบว่า ปัจจัยประชากรศาสตร์ประกอบด้วย ด้านอายุ ด้านอาชีพ และด้านการใช้สิทธิการรักษาพยาบาล แตกต่างกัน ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนที่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านเพศ ด้านการศึกษา และด้านรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อความพึงพอใจการใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนไม่ต่างกัน และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ในทุกด้าน ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ด้วยผลกระทบโดยมีประสิทธิภาพในการพยากรณ์เท่ากับร้อยละ 57.00 ด้วยระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
Aday, L. A., & Andersen, R. (1978). Development of Indices of Access to Medical Care. Ann Arbor: Health Administration Press.
Airada, K., & Pashatai, C. (2020). Service Quality and Service Marketing Mix Affecting Customer’s Satisfaction of Synphaet Lamlukka Hospital Pathum Thani Province. In Graduate Research Conference (pp. 363-373). Rangsit University.
Budiman, C., & Achmadi, H. (2023). The Effect of Marketing Mix on Patient Satisfaction
and Their Impact on Patient Loyalty in Hospital Inpatients. Journal Manajemen
Kesehatan Indonesia, 11(1), 1-9.
Hair Jr, J. F., Hult, G. T. M., Ringle, C., & Sarstedt, M. (2013). A primer on partial least Squares structural equation modeling (PLS-SEM). Sage Publications.
Kasikorn Research Center. (2024). Analysis of the healthcare sector in Thailand. Kasikornbank.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2020). Marketing Management (15th ed.). Pearson.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, In Attitude Theory and Measurement (P.90-95). Wiley.
Ministry of Public Health. (2023). Public health service usage. Retrieved from https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=9d8c311d6336373d40437c4423508cad&id=92a705c26f22754d7462e9f742436b6f#.
Ministry of Public Health. (2024). Health situation report of the Thai population. Ministry of Public Health.
National Economic and Social Development Board. (2024). Thai economic and social development report. National Economic and Social Development Board.
National Health Security Office. (2024). Universal health coverage system operational report. National Health Security Office.
Preechaya, S., & Nattawee, B., (2024). Satisfaction of Users to the Social Security Privileges of Rangsit Medical Hospital, Pathum Thani Province. Journal of Management Science Research, Surindra Rajabhat University, 8(2). 260-274.
Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (2003). Consumer behavior (8th ed.). Prentice Hall.
United Nations. (2023). Universal Declaration of Human Rights. Retrieved from https://www.un.org/en/about-us/universal-declaration-of-human-rights.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารกลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่าง ๆ ในวารสารกลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้น ๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใด ๆ ของศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา และรูปภาพ ฯลฯ ในวารสารกลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีก่อนเท่านั้น