รูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน โรงเรียนวัดบึงทองหลาง(พิทักษ์วิทยาคาร) สำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ปรีดาวรรณ อินทวิมลศรี

บทคัดย่อ

การวิจัย รูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน โรงเรียนวัดบึงทองหลาง(พิทักษ์วิทยาคาร) สำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน 2) ศึกษาผลที่เกิดจากรูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ในด้านพฤติกรรมการสร้างชุมชน แห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 และ3) ประเมินรูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับองค์ประกอบของรูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่จัดขึ้นก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ อีกทั้ง 4) สอบถามความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครอง เกี่ยวกับผลจากการใช้รูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่าง 822 คน เครื่องมือที่ใช้ 1) แบบสังเกตพฤติกรรมการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู 2) แบบประเมินรูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับผลกับสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูต่อรูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ    4) แบบสอบถาม ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ของครู 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน มี 4 องค์ประกอบหลัก 75 องค์ประกอบย่อย 2. ผลที่เกิดจากรูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ด้านพฤติกรรมการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู พบว่า อยู่ในระดับมาก 3. ผลการประเมินรูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมครูมีระดับปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการสอบถามประเมินความพึงพอใจของครู นักเรียนและผู้ปกครอง พบว่าความพึงพอใจของครูต่อรูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ของครู พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน พบว่าอยู่ในระดับ มาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา คุรุสภา.(2559, 30 มีนาคม ). การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (ออนไลน์). www.ksp.or.th.

ณัฐธยาน์ การุญ. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักภาษาไทยและความสนใจในการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่สอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปการสอนตามคู่มือครู.[วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. https://ir.swu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/727/1/Nutthaya_K.pdf.

พิรุณโปรย สำโรงทอง. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครู. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.https://ir.swu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/733/1/ Pirounproy_S.pdf

มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2559). การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วีนัส จีวะรัตน์. (2555). การพัฒนากิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลพังงา ระดับ

ประถมศึกษาปีที่ 1 เขตพื้นที่การศึกษาพังงา.วารสารศึกษาศาสตร์,มหาวิทยาลัยศิลปากร,10(1),136-147. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/97987.

สมพร ญาณสูตร. (2555). องค์ประกอบการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในเขตภาคใต้ฝั่งตะวันออก. วารสารมนุษยศาสาตร์สังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ,7(1):255-270. https://so02.tci-thaijo.org/ index.php/HUSOTSU/article/view/43441.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561).กรุงเทพมหานคร:พริกหวานกราฟิค.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3):607-610.

Senechal, A. (2011). Improving Student Achievement by Investigating Factors Influencing HighSchool Teacher’Use of Professional Learning Communities. New Brunswick Walden. https://www.proquest. com/docview/855816789/previewPDF/DEE4B4631B24450DPQ/1?accountid=146476 Holden, M. & Connelly, S. (2004). The learning city : Urbansustainability education and buildingtoward WUF legacy. Ottawa : Government of Canada.

Stoll, L., Bolam, R., McMahon, A.,Wallace, M.,and Thomas.S. (2006). Professional Learning Communities: A review of the Literature. Journal of Education Change. 7:221-258. https://link.springer.com/article/10.1007/ s10833-006-0001-8.