ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2/3 โรงเรียนวัดหนองจอก สำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์แบบโครงการ

Main Article Content

ยุวดี ก้านเหลือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์แบบโครงการ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2โรงเรียนวัดหนองจอก สำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ซี่งใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ และแบบประเมินผลทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล จำนวน 4 ฉบับบ คุณภาพของแผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ จากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และ คุณภาพของแบบประเมินผลทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล 4 ฉบับบ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .83 .89 .89 และ .93 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการ เพื่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นเวลา 14 สัปดาห์ ดำเนินการทดลองแบบ One Group Pretest - Posttest Design 


            ผลการทดลอง พบว่า เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2/3 โรงเรียนวัดหนองจอก สำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร หลังการจัดประสบการณ์แบบโครงการ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยรวมสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณา สังข์วะระปรีชา. (2555). ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กนักวิจัยที่ต่อการสังเกตการณ์จำแนกและเปรียบเทียบของเด็กปฐมวัย [ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551ก). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. เบรน-เบส บุ๊คส์.

______ . (2551ข). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. เบรน-เบส บุ๊คส์.

จารุณี ชัยจันดา. (2557). รายงานการใช้การจัดประสบการณ์แบบโครงการเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : เอกสารอัดสำเนา.

ฉัตรชุดา เธียรปรีชา. (2543). การจัดประสบการณ์โดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง. สถาบันราชภัฎเลย.

ชยุดา พยุงวงษ์. (2551). การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของเด็กนักวิจัยที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย [ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฏติยาภรณ์ หยกอุบล. (2555). สอนให้คิดด้วยจิตวิทยาศาสตร์. บุ๊คส์ พอยท์.

ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนกรเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 17). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญศรี ใหม่คามิ. (2557). การเปรียบเทียบผลการจัดกิจกรรมประสบการณ์ตามแนวการสอนแบบโครงการกับแบบปกติที่ส่งผลต่อการพัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2545). ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ปฐมวัยศึกษา. วารสารการศึกษาปฐมวัย, 6(4), 24-25.

พรใจ สารยศ. (2544). กระบวนการส่งเสริมการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2545). พฤติกรรมวิทยาการสอนวิทยาศาสตร์. สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

ยุพา ศิริรักษ์. (2558). ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการที่ต่อความสามารถด้านการสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบของเด็กปฐมวัย [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ลำดวล ปั่นสันเทียะ. (2545). ผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วณิชชา สิทธิพล. (2556). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรม การทำเครื่องดื่มสมุนไพร [ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัฒนา มัคคสมัน. (2554). การสอนแบบโครงการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : วี.พริ้นท์.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2553). การวัดและประเมินเด็กแนวใหม่ : เด็กปฐมวัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ดอกหญ้าวิชาการ.

สุวรรณี ขอบรูป. (2540). การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกห้องเรียนเพื่อเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กอนุบาล [วิทยานิพนธ์การศึกษาครุศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Dewey, J. (1963). Experience and Education. New York: Macmillan.

McLachlan, C. J., Fleer, M., & Edwards, S. (2010). Early childhood curriculum: Planning, assessment and implementation. Australia: Cambridge University Press.