การพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะเมโลเดียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดหนองจอก เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะเมโลเดียน ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โน้ตสากลเบื้องต้น ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะเมโลเดียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะเมโลเดียน ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดหนองจอก สำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนวัดหนองจอก สำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานครจำนวน 6 ห้องเรียน รวมนักเรียนทั้งหมด 234 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/5 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ แบบฝึกทักษะเมโลเดียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โน้ตสากลเบื้องต้น ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.40-0.67 ค่าอำนาจจำแนก 0.21-0.66 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.87 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่ามี 5 ระดับ จำนวน 12 ข้อ ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียน และหลังเรียน โดยใช้สูตร t-test for Dependent Samples.
ผลการศึกษาพบว่า 1) แบบฝึกทักษะเมโลเดียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.50/85.22 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เมโลเดียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดหนองจอก สำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะเมโลเดียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.64 อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of TCI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 : คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ. โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
จันทร์เพ็ญ พงศ์คีรีแสน. (2540). ชุดการสอนที่มีประสิทธิภาพ กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย (แขนงดนตรี-นาฏศิลป์) หน่วยที่ 3 เรื่องกิจกรรมเน้นการฟัง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533) [ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จิตรา ไทยเครือวัลย์. (2549). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดนตรีไทยโดยชุดฝึกทักษะวงเครื่องสายไทยโรงเรียนโพนทันเจริญวิทย์ [ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ. (2535). คู่มือการอบรมนาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานโครงการส่งเสริมวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ดวงพร วงค์ป้อ. (2551). การใช้ชุดฝึกทักษะการเล่นดนตรีพื้นเมือง “สะล้อ” สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลเชียงของ จังหวัดเชียงราย [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ธวัชชัย นาควงษ์. (2543). การสอนดนตรีสำหรับเด็ก. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญเลิศ ภูวิเลิศ. (2551). การพัฒนากิจกรรมฝึกทักษะการเป่าแคนสำหรับเยาวชน ในเขตตำบลภูแล่นช้าง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
พรวิไล จุลเสวก. (2550). การพัฒนาการเรียนรู้โน้ตดนตรีสากลโดยใช้ชุดฝึกทักษะเมโดเลียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองขวาง [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สวัสดิ์ คะรุรัมย์. (2551). การพัฒนาแผนกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการบรรเลงเครื่องดนตรี วิชาศิลปะพื้นฐาน (ดนตรี) ศ 31101 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อรวรรณ บรรจงศิลป์. (2535). ดนตรีในระดับประถมศึกษา สาระดนตรีศึกษา: แนวคิดสู่แนวปฏิบัติ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.