การพัฒนากลยุทธ์ในการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์ (บุญมีอนุกูล) สำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วรรณพร ศิลาขาว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ของนักเรียน 2.เพื่อร่างกลยุทธ์ในการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ของนักเรียน 3.เพื่อทดลองใช้ และศึกษาผลการทดลองใช้กลยุทธ์ในการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ของนักเรียน 4. เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์ในการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ของนักเรียน 5. เพื่อศึกษาผลก่อนและหลังการใช้กลยุทธ์ในการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ของนักเรียน  กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง นักเรียน จำนวน 168 คน  และ ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด จำนวน 47 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ  แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์  สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และสถิติทดสอบที (t – test)


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพการดำเนินงาน ในการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ภายหลังทดลองใช้กลยุทธ์ ในภาพรวม สภาพการดำเนินงานมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2) ผลจากการร่างกลยุทธ์ เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของการพัฒนากลยุทธ์ฯ มีความเหมาะสมดีแล้ว เขียนได้ชัดเจน 3) วิธีการและแนวทางในการยกระดับผลการสอบได้เหมาะสม ชัดเจนและเป็นรูปธรรม สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือพัฒนานักเรียนได้เป็นอย่างดี และกลยุทธ์ทั้ง 6 ส.มีความเหมาะสมดี 4) การวิเคราะห์สภาพการดำเนินงาน การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้า ประสงค์ ตัวชี้วัด โครงการ/กิจกรรมและกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้น มีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน ซึ่งเขียนได้ชัดเจน เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนมากกว่าครั้งแรก  5) ผลการเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานก่อนและหลังการพัฒนากลยุทธ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทิศนา แขมณี. (2552). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรัญญา ไชยวงค์. (2552). ศึกษาการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาแม่สุก อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3. [ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต].มหาวิทยาลัยพะเยา. http://www.updc.clm.up.ac.th/

bitstream/123456789/1663/1/Aranya%20Chaiwong.pdf.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2554). คู่มือการจัดสอบทางการศึกษา แห่งชาติระดับชาติขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 2 (ป.6) และช่วงชั้นที่ 3 (ม.3) ปีการศึกษา2554. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการ ศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

สมพงษ์ จิตระดับ. (2555). คู่มือการสร้างความเป็นพลเมืองดีในสภาเด็กและเยาวชนระดับท้องถิ่นสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).(2551). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O–NET) ปีการศึกษา 2551. http://www.yangton.lopburi2. net/o-net doc. สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. (2554). สรุปผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (SMART SCHOOL). กรุงเทพมหานคร : 1-2.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 20. (2555). งานแผนการยกระดับผลการทดสอบ O-NET. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 20. จังหวัดอุดรธานี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). กระบวนการบริหารคุณภาพ PDCA. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).(2554). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อประกัน คุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนพับลิชชิ่งจำกัด (มหาชน).

สุพักตร์ พิบูลย์ และคณะ. (2552). กระบวนการวิจัยและพัฒนางานวิชาการ. บัณฑิตศึกษา สาขาวิชา ศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี.

หยดฟ้า ราชมณี. (2554). การดำเนินการวางแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนระดับประถมศึกษาในภาคใต้. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อรัญญา ไชยวงค์. (2555). การบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบทางการ ศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาแม่สุก อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 3. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยพะเยา.

เอื้อมพร หลินเจริญและคณะ. (2552). ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้คะแนนการทดสอบ O-NET ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่ำ. ทุนอุดหนุนวิจัยจาก สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

Maslow, A. (1994). Motivasi dan Kepribadian (Teori Motivasi dengan Pendekatan Hierarki Kebutuhan Manusia). Jakarta : PT. PBP.

Lawrence, D. (1980). The Effective Correlate of Home Concern Support, Instructional Quality and Achievement. Dissertation Abstracts International. 41 (September 1980), 989 – A.

Rimm, S. (1984). Underachievement. G/C/T. January – February : 26-29.