การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องบทประยุกต์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคลำดับขั้นตอน A-B-C-D ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายประถม)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องบทประยุกต์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายประถม) โดยใช้เทคนิคการสอนแบบลำดับขั้นตอน A-B-C-D 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องบทประยุกต์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังเรียนโดยการใช้เทคนิคการสอนแบบลำดับขั้นตอน A-B-C-D กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายประถม) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 24 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยมีกลุ่มเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องบทประยุกต์ กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบลำดับขั้น A-B-C-D ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 14 คาบ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องบทประยุกต์ กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน ( t-test Dependent Sample) ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องบทประยุกต์ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบลำดับขั้นตอน A-B-C-D มีคุณภาพอยู่ในระดับดี 2) ก่อนและหลังเรียนโดยการใช้เทคนิคการสอนแบบลำดับขั้นตอน A-B-C-D นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of TCI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
จิราพร หนักแน่น. (2552). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างสอนโดยใช้ทักษะ/กระบวนการแก้ปัญหากับการสอนปกติ โรงเรียนชุมชนบ้านหัวขัว. โรงเรียนชุมชนบ้านหัวขัว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 2.
รจนพร คูณผล, ชาญชัย สุกใส, และ ประสาร ไชยณรงค์. (2556). การพัฒนาชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหา เรื่องความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารบัณฑิตศึกษา, 10(51), 43-52.
วันวิสาข์ อ๊อกจินดา. (2559). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้คำถามระดับสูงประกอบกระบวนการแก้ปัญหา DAPIC ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 [ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สงบ ลักษณะ. (2534). จากหลักสูตรสู่แผนการสอน. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สมจิตร กำเหนิดผล. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์ กับความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 [ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
อัมราพร เรืองรวมศิลป์. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหาร และการบวก ลบ คูณ หารระคนของทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ุที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดอภิปัญญาร่วมกับ KWDL. วารสารวิชาการ VERIDIAN E-JOURNAL SILPAKORN UNIVERSITY, 9(2), 1467-1480.
Campbell, D.T., & Stanley, J.C. (1963). Experimental and quasi-experimental design for research. Houghton Mifflin Company.
Thorndike, E. L. (1905). The elements of psychology. A. G. Seiler.