การพัฒนากระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ด้านการอ่าน (RT)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา สภาพที่พึงประสงค์ของกระบวนการบริหารและแนวทางการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านการอ่าน (RT) 2.เพื่อสร้างและหาคุณภาพของกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ด้านการอ่าน (RT) 3.เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนด้านการอ่าน (RT)4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ด้านการอ่าน (RT) ประชากร ได้แก่ ผู้อำนวยโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง นักเรียน จำนวน 168 คน และ ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ และสถิติทดสอบที (independent simple t – test)
ผลการวิจัย พบว่า 1.ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านการอ่าน (RT) ในภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2. รูปแบบกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ด้านการอ่าน(RT)ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) ความไว้วางใจ 2. ความผูกพันต่อองค์กร 3) การตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของงาน และ 4) ความมีอิสระในการปฏิบัติงาน 3. ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำกระบวนการการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ด้านการอ่าน (RT) ไปใช้ โดยภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการประเมินความถูกต้องและความเป็นประโยชน์ในการนำกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ด้านการอ่าน ไปใช้ โดยภาพรมพบว่า มีความถูกต้องอยู่ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด 5 . การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนโดยวัดผลการใช้คู่มือการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ด้านการอ่าน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านสี่แยก โรงเรียนคลองยางนุสรณ์ โรงเรียนบ้านหนองผักแว่น โรงเรียนอนุบาลศรีวัฒนาวิทยา สูงกว่า ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6.ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านสี่แยก โรงเรียนคลองยางนุสรณ์ และโรงเรียนบ้านหนองผักแว่น ปีการศึกษา 2563 หลังการนำคู่มือไปทดลอง โรงเรียนบ้านสี่แยก โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก แต่ โรงเรียนอนุบาลศรีวัฒนาวิทยามีผลการประเมินอยู่ในระดับดี 7.ความพึงพอใจที่มีต่อกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านการอ่าน โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of TCI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...
References
กนิษฐา สุขสมัยและประเพชัย พสุนนท์. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยทคโนโลยีสยาม.วารสารปริทัศน์.7(2):9-25.
กัญวัญญ์ ธารีบุญ: และ นพดล เจนอักษร. (2558), การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ระดับปฐมวัย. วารสารวิซาการ Veridian E-Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 8(1): 122-137.
จันทรานี สงวนนาม. (2545). ทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.(2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี:บุคพ้อยท์.
ชาฤนี เหมือนโพธิ์ทง. (2554). การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับการทำงานเป็นทีม ของพนักงานครูในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1 . วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สขาวิชาการบำหารการศึกษา. กรุงเทพ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชูชาติ พวงสมจิต. (2546). การบริหารแบบมีส่วนร่วม.เอกสารประมวสาระชุดวิชาประสบการณ์ วิชาชีพประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 1-5. นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธนา ธุศรีวรรณ .(2562).การพัฒนารูปแบบการชี้แนะเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูระดับมัธยมศึกษา.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น.:16 (2) (2019):535-547.
ธริศร เทียบปาน นิรันดร์ จุลทรัพย์ และ วันชัย ธรรมสัจการ .(2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาในเขตจังหวัดภาคใต้.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์.5(3) :กันยายน – ธันวาคม 2561:672-678.
บรรชา บุญสิงห์. (2556). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเปือยน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร- มหาบัณฑิต. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) ฉบับที 10 (พ.ศ. 2550 - 2554).กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
ไพฑูรย์ ภูมิช่อ. (2546). การบริหารแบบมีส่วนร่วม ตามการรับรู้ซองครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิซาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วีระศักดิ์ วงศ์อินทร์. (2557). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎรําไพพรรณี, จันทบุรี.
รัชนิดา นิลมณี. (2554). ความสัมพันธ์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
โรงเรียนบ้านสี่แยก .(2560).รายงานการประเมินตนเองโรงเรียนบ้านสี่แยก.
วรรดี นกเกษม .(2556).ปัจจัยที่ส่งผลต่อนิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4–6 โรงเรียนในกลุ่มเครือข่าย
การบริหารจัดการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบบูรณาการ วังหิน 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร์อยเอ็ด. 14 (1) : มกราคม - เมษายน 2563 : 221-232.
สันติกา ดวงจิต. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อนิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดศรีสะเกษ.
วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนyกงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. ( 2553).รายงานประเมินตนเองสำนyกงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2554). แนวทางการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐานสากล. ผู้พิมพ์
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
อรุณ รักธรรม. (2540). การพัฒนาองค์การ: แนวความคิดและการประยุกต์ใช้ในระบบสังคมไทย.กรุงเทพฯ: หายบล็อกและการพิมพ์.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2543).รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาแนวทางการบริหารและการจัดการของสถานศึกษา ในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
Austin, M. and Casselden, B. (2010). A Server into the Reading Attitudes and Personal Reading Habits of Year 2 Children. The school Librarian, 58(3), 133-135.
Bano, J., Jabeen, J.and Qutoshi, S.B.. (2018). Journal of Education and Educational Development, 5(1), 42-59. Retrieved from http://journals.iobmresearch.com/index.php/JEED/index
Keeves, P. J. (1988). Model and Model Building Educational Research Methodology and Measurement: An International Handbook. Oxford: Pergamon Press.
Steers, Richard M. (1977). Organization Effectiveness: A Behavioral View. SantaMonica, California: Good Year Publishing.