การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก

Main Article Content

กฤษฎา การถัก
ประภาพร หนองหารพิทักษ์
สมใจ ภูครองทุ่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก 3) ศึกษาความพึ่งพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเมืองสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึ่งพอใจขนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ สูตรตรวจสอบประสิทธิภาพ  และสถิติทดสอบที ผลวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อ การเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.08 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.85 ซึ่งอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการจัดการเรียนกรสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : การจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์และเน้นปฏฺบัติ. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

จินตนา ดวงจำปา. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก เรื่อง วัฒนธรรมไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณทิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสารคาม]. ThaiLIS. https://bit.ly/3XjOzUC

ทิพชาติ มาลาจันทร์. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การเรียนรู้แบบเชิงรุก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม]. ThaiLIS https://bit.ly/3JT0ntI

ปัณฑิตา อินทรักษา. (2562). การจัดการเรียนรู้ด้วย Active Learning เพื่อการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์. วารสารคุรุศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 1(1), 35-43.

ภัททิรา เดชฤกษ์ปาน, สราญจิต อ้นพา, ณัฐิกา สุริยาวงษ์, พัชรพล ชิดชม, และ มาเรียม นิลพันธุ์. (2565). การพัฒนาแบบรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงรุกเพื่อเสริมสร้างความสามมารถในการสร้างนวัตกรรมทางคณิตศาสตร์สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วาสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(1), 1-15.

มนตรี ดีโนนโพธิ์. (2563). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนเบื้องต้นด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) สำหรับนักศึกษาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. วารสารจันทรเกษมสาร, 27(1), 106-123.

วนัขพร ชมชื่นใจ, สมวงษ์ แปลงประสพโชค, และ กฤษณะ โสขุมา. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 16(2), 102-108.

วารินทร์พร ฟันเฟื่องฟู. (2562). การจัดการเรียนรู้ Actve Learning ให้สำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 9(1), 135-145.

วีรยุทธ ด้วงใย. (2566). ผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตรื เพื่อพัฒนาความสามรถในการวิเคราะห์ และแก้ปัญหา โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(1), 119-135.

อดิศักดิ์ สุดเสน่หา, ทิพน์วิมล วังแก้วหิรัญ, และ พรทิพย์ อ้นเกษม. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามกระบวนการทางคณิตศาสตร์ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วรสารบัณทิตวิจัย Jouranal Of Graduate Research, 11(2), 123-136.