ความสุขในการทำงานของพนักงานบริษัท โยรัชดา จำกัด สำนักงานใหญ่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่องความสุขในการทำงานของพนักงานบริษัท โยรัชดา จำกัด สำนักงานใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเพื่อเปรียบเทียบระดับความสุขในการทำงานของพนักงานบริษัท โยรัชดา จำกัด สำนักงานใหญ่ ตามลักษณะส่วนบุคคล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นพนักงานบริษัท โยรัชดา จำกัด สำนักงานใหญ่จำนวน 91 คน
ผลการวิจัยโดยภาพรวมพบว่าค่าเฉลี่ยความสุขในการทำงานของพนักงานบริษัท โยรัชดา จำกัด สำนักงานใหญ่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก จากการทดสอบสมมติฐานอภิปรายได้ว่าพนักงานบริษัท โยรัชดา จำกัด สำนักงานใหญ่ ที่มีเพศต่างกันมีความสุขในการทำงานไม่แตกต่างกันในทุก ๆ ด้าน สำหรับด้านอายุต่างกันมีความสุขในการทำงานไม่แตกต่างกันส่วนด้านสถานภาพสมรสต่างกันมีความสุขในการทำงานไม่แตกต่างกัน ในด้านระดับการศึกษาต่างกันมีความสุขในการทำงานไม่แตกต่างกันเช่นกัน ส่วนด้านรายได้ต่อเดือนต่างกันมีความสุขในการทำงานของไม่แตกต่างกัน สำหรับพนักงานบริษัท โยรัชดา จำกัด สำนักงานใหญ่ที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานต่างกันมีความสุขในการทำงานไม่แตกต่างกัน
ข้อเสนอแนะการศึกษาครั้งนี้ ด้านผู้นำ ผู้บริหารของพนักงานบริษัท โยรัชดา จำกัด สำนักงานใหญ่ ต้องสามารถสร้างพลังใจและการมองโลกในแง่ดีให้แก่ทีมหรือผู้ใต้บังคับบัญชา สามารถผลักดันให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความกระตือรือร้นในการทำงาน ให้ความสำคัญกับความสำเร็จที่เกิดขึ้นและให้รางวัลกับทีมหรือผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้น ต้องส่งเสริมการทำงานที่พนักงาน สามารถได้รับการสนับสนุนและเอาใจใส่จากเพื่อนร่วมงาน มีนโยบายที่ชัดเจนเพื่อให้การทำงานมีความเจริญก้าวหน้าในตนเอง มีโอกาสพัฒนาและเปิดรับประสบการณ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง ส่วนระดับความสุขในการทำงาน ผู้บริหารของพนักงานบริษัท โยรัชดา จำกัด สำนักงานใหญ่ ต้องสนับสนุนการทำงานที่ก่อให้เกิดผลงานที่ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of TCI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...
References
จงจิต เลิศวิบูลย์มงคล. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ กับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมบัติ กุสุมาวลี. (2549). ความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมของชุมชนกับการพัฒนาตามแนวทางของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 30(3), 607-610.