ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์การค้าเซ็นทรัล รามอินทรา

Main Article Content

พิมชนก เกื้อสังข์

บทคัดย่อ

    การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของผู้ใช้บริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์การค้าเซ็นทรัล รามอินทรา และ 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์การค้าเซ็นทรัล รามอินทรา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริโภคที่มาใช้บริการศูนย์การค้าเซ็นทรัล รามอินทรา ซึ่งมีขนาดที่มากและไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน ซึ่งผู้วิจัยไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน โดยเลือกตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น แบบตามสะดวก ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่น 0.91 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Independent Sample t-test, F-test และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


    ผลการศึกษา พบว่า ผู้ใช้บริการศูนย์การค้าเซ็นทรัล รามอินทรา ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.00 มีอายุระหว่าง 31 - 40 ปี ร้อยละ 68.00 การศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 59. 25 ประกอบธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 28.25 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 45,001 – 50,000 บาท ร้อยละ 26.00 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของศูนย์การค้าเซ็นทรัล รามอินทรา โดยรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.40, S.D = 0.69) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้ใช้บริการที่มีอาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์การค้าเซ็นทรัล รามอินทรา แตกต่างกัน และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านลักษณะทางกายภาพมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์การค้าเซ็นทรัล รามอินทรา มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ศูนย์การค้าควรวางแผนด้านการเข้าถึงศูนย์การค้าจากเทคโนโลยี สื่อผสม ด้วยศูนย์การค้าเซ็นทรัล รามอินทราเพิ่งจะมีการรีโนเวทใหม่ ผู้ใช้บริการอาจยังเข้าไม่ถึงบริการ สถานที่ตั้งร้านค้า ควรมีช่วงทางให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงได้รวดเร็วขึ้น เช่น การทำสื่อผสม โดยใช้ QR Code ให้ผู้ใช้บริการมองเห็นพื้นที่ร้านค้าภายในศูนย์การค้า เป็น 3 มิติเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงร้านค้าที่ผู้ใช้บริการต้องการใช้บริการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ สุขสมัย. (2560) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์การค้า. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กุลยา เกราะทอง. (2558). พฤติกรรมผู้ใช้บริการและปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการศูนย์การค้าในเขตกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างศูนย์การค้าขนาดใหญ่ และศูนย์การค้าชุมชน. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จิตพนธ์ ชุมเกตุ และคณะ. (2556). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคตลาดนัดรถไฟศรีนครินทร์ ในกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จุฆามาศ ศศิขัณฑ์ และยุวดี ศิริ. (2561). ความสัมพันธ์ของผู้ใช้บริการกับร้านค้าภายในคอมมูนิตี้มอลล์ กรณีศึกษา อเวนิว รัชโยธิน และนวมินทร์ ซิตี้ อเวนิว. วารสารวิชาการ Veridian E – Journal, Silpakorn University. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยและสังคมศาสตร์และศิลปะ 11(2), 3145 – 3162.

ชวัลนุช สินธรโสภณ. (2554). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเลือกใช้บริการร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในเขตกรุงเทพมหานคร (Unpublished Master’s thesis). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณิชา หวังศุภผล. (2556). การรับรู้ภาพลักษณ์ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลในกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิมพ์ลภัส วิมลโนธ และพัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล. (13 สิงหาคม 2563). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการและรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซาลาดพร้าวของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 ปีการศึกษา 2563 ณ มหาวิทยาลัยรังสิต.

พงศ์นรินทร์ พ้นภัย. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาราชดำริ. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภัทรพร วันพิรัตน์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการห้างสรรพสินค้า กรณีศึกษา : ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน และห้างสรรพสินเค้าเซ็นทรัลเวิลด์. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

มินตรา ภู่เจริญ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์การค้าไอคอนสยาม ในเขตกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วริษฐา กิตติกุล และพัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล. (2562). พฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของฝากสินค้าบริโภคในจังหวัดฉะเชิงเทรา. ในบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, การประชุมนำเสนอผลงานวิจัย บัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 14 หน้า 922-936, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สุกัญญา พราพงษ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า ปิ่นเกล้า. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสยาม.

สุฑารินี เกยานนท์. (2560). การตัดสินใจเลือกใช้บริการห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.[การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุตาภัทร จันทรประเสริฐ, ภัทรพล ชุ่มมี และชาคริต ศรีทอง. (2564). ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อความสามารถทางการจัดการของธุรกิจสถานบริบาลและการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 12(2), 183 -200.

สันติธร ภูริภักดี. (2554). กลยุทธ์การตลาดเพื่อการแข่งขันสำหรับธุรกิจค้าปลีก. วารสารนักบริหาร 1(3), 193-198.

ฤดีรัตน์ สิทธิบริบูรณ์. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการและภาพลักษณ์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าของร้านอาหารวอเตอร์ไซด์ รีสอร์ท. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Cochran, W. G. (1953). Sampling Techniques. John Wiley & Sons. Inc

PPTV. (2565). เส้นทาง 75 ปี กลุ่มเซ็นทรัล จากร้านหนังสือสู่ห้างฯหรูระดับโลก. https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88/180129

Positioning. (2560). ยุทธศาสตร์เซ็นทรัลยุค 4.0 สตรองออฟไลน์ ต้องโกออนไลน์ด้วย. https://positioningmag.com/1117917

Today Bizview. (2566). ตำนานกลับมาแล้ว พาชม ‘เซ็นทรัล รามอินทรา’ รีโนเวตใหม่ทั้งห้างในรอบ 30 ปี. https://workpointtoday.com/central-ramindra-new-look-in-30-years/