ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร กองวิทยาการ กรมช่างอากาศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารกองวิทยาการ กรมช่างอากาศ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารกองวิทยาการ กรมช่างอากาศ และ 2. เปรียบเทียบระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารกองวิทยาการ กรมช่างอากาศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ข้าราชการทหารกองวิทยาการ กรมช่างอากาศ จำนวน 41 นาย สถิติที่ใช้ในการในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร กองวิทยาการ กรมช่างอากาศ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.91, S.D.= 0.243) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ข้าราชการทหารกองวิทยาการ กรมช่างอากาศ มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ในด้านความถูกต้องในการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านความสำเร็จตรงเวลาในการปฏิบัติงาน ด้านความสามารถในการปฏิบัติงาน ด้านความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านลักษณะงาน ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยชั้นยศส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร กองวิทยาการ กรมช่างอากาศ โดยรวมมีค่า Sig. เท่ากับ 0.001 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบความแตกต่าง 2 ด้าน คือ ด้านลักษณะงาน เมื่อจำแนกรายคู่ พบความแตกต่าง 3 คู่ และด้านความถูกต้องในการปฏิบัติงาน เมื่อจำแนกรายคู่ พบความแตกต่าง 1 คู่ และปัจจัยด้านอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร กองวิทยาการ กรมช่างอากาศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และข้อเสนอแนะจากการศึกษา ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการทหารกองวิทยาการ กรมช่างอากาศ ควรมีการวางแผนการทำงานให้ปริมาณงานที่พนักงานได้รับ มีความเหมาะสมกับเวลาทำงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of TCI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...
References
กมลรัตน์ สัมมาตริ. (2563). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท แก่นขวัญ จำกัด จังหวัดขอนแก่น. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
กชกร เอ็นดูราษฎร์. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานบริษัทโกรเฮ่สยาม จำกัด. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
กิตติยา ฐิติคุณรัตน์. (2556). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ซันไชน์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด. [ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ชลดา อักษรศิริวิทยา. (2559). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายเดินรถ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกริก.
ชาคริต ศรีขาว. (2551). ความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท มิสกัน (ไทยแลนด์) จำกัด. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
พิชญาภา ศิลาอ่อน. (2566). แรงจูงใจในการทำงานกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการ Generation Y ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
นิภาวรรณ วังคะวิง. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเลขานุการผู้บริหารระดับสูง มหาวิทยาลัยในกำกันของรัฐ. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ณัฐวัตร เป็งวันปลูก. (2560). ปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชทหารประจำสังกัด กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 7. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
มัทนพร คำบุญ และสุปราณี คมคาย. (2546). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต : กรณีศึกษาบริษัท ควอลิตี้ สกิลล์ จำกัด. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สถาบันเทคโนโลยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สุรพันธ์ ฉันทแดนสุวรรณ. (2550). องค์การและการจัดการ. จุดทอง.
สิขริน คุ้มพันธุ์แย้ม. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของวิศวกร บริษัท ยูแทคไทย จำกัด. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุนิสา สงบเงียบ. (2551). ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท มินอิกเทคโนโลยี (ไทยแลนด์) จำกัด. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
อัครเดช ไม้จันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน กลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อภินันท์ จันตะนี. (2547). การใช้แนวคิดและทฤษฎีเพื่ออ้างอิงในการทำวิจัยทางธุรกิจ. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
อนุศักดิ์ ฉิ่นไพศาล. (2564). การพัฒนาองค์การด้วยระบบบริหารงานคุณภาพ. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Govender, M. (2020). Performance management and employee engagement: A South African Perspective. SA Journal of Human Resource Management, 1(1), 1-19.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.