การพัฒนาศักยภาพสู่ความเป็นเลิศด้านดนตรีสากลของนักเรียนโดยใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมระหว่างภาคีเครือข่ายและโรงเรียนวัดโชติการามสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

Main Article Content

นวภัทร น้ำใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ


1) พัฒนาศักยภาพสู่ความเป็นเลิศด้านดนตรีสากลของนักเรียนโดยใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนผ่านการมีส่วนร่วมระหว่างภาคีเครือข่ายและโรงเรียนวัดโชติการาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 และ


2) สะท้อนผลการพัฒนาศักยภาพสู่ความเป็นเลิศด้านดนตรีสากลของนักเรียนสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมโรงเรียนวัดโชติการาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ผู้มีส่วนร่วมในงานวิจัย ได้แก่ นักเรียน ตัวแทนครูโรงเรียนวัดโชติการาม ครูผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ตัวแทนชุมชน และตัวแทนกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ รวมทั้งสิ้น 29 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับศักยภาพด้านดนตรีสากล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาศักยภาพสู่ความเป็นเลิศด้านดนตรีสากลของนักเรียนโดยใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนผ่านการมีส่วนร่วมระหว่างภาคีเครือข่ายและโรงเรียนวัดโชติการามแบ่งเป็น 5 ด้าน คือ (1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลทำให้ทราบความแตกต่างของนักเรียน (2) การจัดกลุ่มและลำดับความสำคัญให้กับนักเรียน สรุปได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มปกติ กลุ่มมีปัญหา และ กลุ่มพิเศษ (3) กิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านดนตรีสากล สรุปได้เป็นกิจกรรมการพัฒนาทักษะด้านดนตรีสากล (4) ผลจากการจัดกิจกรรมการป้องกันช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สรุปเป็นกิจกรรมที่ฝึกทักษะของนักเรียนด้วย “กิจกรรมเข้าค่ายวงโยธวาทิต” (5) ผลการพัฒนา การส่งต่อและการรับรู้คุณค่าของตนเอง พบว่า ศักยภาพสู่ความเป็นเลิศด้านดนตรีสากลโดยรวมอยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.51 (S.D.=0.86) และผลเชิงประจักษ์ด้านทักษะดนตรีสากลและความร่วมมือของภาคีเครือข่าย


 


และ 2) สะท้อนผลการพัฒนาศักยภาพสู่ความเป็นเลิศด้านดนตรีสากลของนักเรียนสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมโรงเรียนวัดโชติการาม นำไปสู่แผนการบริหารงานตามแนวคิดแบบ CHO Model ประกอบด้วย (1) เครือข่ายดี (2) มนุษยสัมพันธ์เด่น (3) เน้นองค์กรคุณภาพ และผลสะท้อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของโรงเรียนวัดโชติการาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรดา มลิลา และเพ็ญนภา สุขเสริม. (2564). การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 8(2), 29-42.

ธิตินัดดา สิงห์แก้ว. (2562). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้วงจร PDCA: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดป่าตึงห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่].

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. สุวีริยาสาส์น.

ปกรณ์กิตติ์ ม่วงประสิทธิ์, ศิริณา จิตต์จรัส และอรอุษา ปุณยบุรณะ. (2564). ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาการบริหารการศึกษาอย่างยั่งยืน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 18(2), 21-42.

ฝ่ายการศึกษา สำนักงานเขตบางรัก. (2561). โครงการพัฒนาศักยภาพสู่ความเป็นเลิศด้านการดนตรีโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร. ฝ่ายการศึกษา สำนักงานเขตบางรัก.

พรชนนี ภูมิไชยา และนิธิดา อดิภัทรนันท์. (2564). การใช้กิจกรรมพหุปัญญาเพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษ และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(2), 217-231.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). คู่มือการคัดเลือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประจำปี 2565. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

_____. (2566). คู่มือการคัดเลือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนประจำปี 2566. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). รายงานผลการพัฒนารูปแบบและกลไกการพัฒนาและส่งเสริมพหุปัญญาเพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ฉบับสรุป. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุนทร โครพ และ พรเทพ รู้แผน (2564). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอ่างทอง. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 8(1), 143-153.

Lewin, K. (1946). Action research and minority problems. Journal of Social Issues, 2(4): 34-46.

Sashkin, M. (1982). A manager’s guide to participative management. AMA Membership. Publication Division.