ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ไทยพาณิชย์ โพรเทค จำกัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ไทยพาณิชย์ โพรเทค จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน เปรียบเทียบความแตกต่างของแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงานกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานขายประกันทางโทรศัพท์ บริษัท ไทยพาณิชย์ โพรเทค จำกัด ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานขายประกันทางโทรศัพท์ จำนวน 232 คน ปฏิบัติงานที่ SCB สำนักงานใหญ่ และ G – Tower เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 26 – 30 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 / ปวช. รายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 20,001 – 40,000 บาท มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน มากกว่า 6 เดือน ถึง 1 ปี ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.65) ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงาน อยู่ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.65) และปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.65) แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.72) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานขายประกันทางโทรศัพท์ บริษัท ไทยพาณิชย์ โพรเทค จำกัด ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และปัจจัยจูงใจ (Sig. = 0.000) และปัจจัยค้ำจุน (Sig. = 0.000) ในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมและรายด้าน มีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกันกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานขายประกันทางโทรศัพท์ บริษัท ไทยพาณิชย์ โพรเทค จำกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ข้อเสนอแนะ ควรควรพิจารณาปรับผลตอบแทนตามระดับของพนักงาน ควรจัดฝึกอบรมพัฒนาทักษะการสื่อสาร การขายทางโทรศัพท์ และควรเปิดรับฟังข้อเสนอแนะจากพนักงานในเรื่องการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of TCI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...
References
ชนกนาถ เหมือนโพธิ์. (2557). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานขายหน้าร้าน บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด แผนกธุรกิจคอนซูเมอร์ เฮลธ์แคร์. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชนิดา คุณทองคำ. (2562). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 2 (จังหวัดชลบุรี). [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ดวงใจ ดิษสลุง และรัชดาภรณ์ เบญจวัฒนานนท์. (2558). แรงจูงใจที่มีอิทธิพลในการปฏิบัติงานของตัวแทนประกันชีวิต บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด สำนักงานจังหวัดกาฬสินธุ์. การประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2558. (น. 527-533) วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธนภรณ์ พรรณราย. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปฐมวงค์ สีหาเสนา. (2558). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลค่ายเนินวง ตำบลบางกะจะ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี. [งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประเสริฐ อุไร. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท เอจีซี ออโต โมทีฟ (ประเทศไทย) จํากัด. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกริก.
พัชรกันย์ ศุภวัฒน์แสงประภา. (2556). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานขาย บริษัท แอล เอ็มอี จำกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
พรพรรณ กรรเจียกพงษ์. (2553). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานขายนมเปรี้ยวบีทาเก้น ในเขตภาคใต้. [การอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
พัชรินทร์ กลายสุวรรณ. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ไฮเวย์ จำกัด. [งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ยลดา สุพร. (2559). แรงจูงใจในการทำงานของพนักงานบริษัท ส.เฮง เฮง จำกัด. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
วาสนา พัฒนานันท์ชัย. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์. [งานนิพนธ์ปริญญาหาบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วรรณา อาวรณ์. (2557). แรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการรัฐสภา ระดับปฏิบัติงาน สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกริก.
วีรยุทธ วาณิชกมลนันทน์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท สยามกลาสอินดัสทรี จำกัด โรงงานอยุธยา. [วิทยานิพนธ์นิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วัชระ แย้มชู. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำนักงานใหญ่. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกริก.
สิรินาถ อุยสกุล. (2558). เจตคติที่มีต่องานขายประกัน ความพึงพอใจในงาน และความตั้งใจคงอยู่ในงานของพนักงานขายประกันทางโทรศัพท์ กรณีศึกษาบริษัท โบรคเกอร์ประกันภัยรถยนต์แห่งหนึ่ง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต], มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุพาณี สังข์ทอง. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนตําบล อําเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 3(2), 100-109.
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2566). ข้อมูลสถิติจำนวนนายหน้าประกันภัยบุคคลธรรมดาที่ใบอนุญาตยังไม่ขาดอายุ ณ วันสิ้นปี แยกรายจังหวัด. สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน).
สมาคมประกันวินาศภัย. (2560). “สุทธิพล” ย้ำต้องคุมเข้มคุณภาพตัวแทน/นายหน้าประกันภัย เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้บริโภค. https://www.tgia.org/newsandevents-detail-TH_553_1
อนุชิต แย้มยืนยง. (2557). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจภูธรเมืองตราด จังหวัดตราด. [งานนิพนธ์รัฐปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
โอภาส จูเลิศตระกูล. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
MReport. (2565). 10 อันดับธุรกิจดาวรุ่ง ปี 2566. MReport https://www.mreport.co.th/news/trend-and-innovation/341-top-10-rising-star-business-in-2023
Yamane, Taro. (1973). Statistics an introductory analysis. Harper & Row.