การศึกษาการเปิดรับสื่อ การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการท่องเที่ยววัดร่องขุ่นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

Main Article Content

นิคม กุมภีพงษ์

บทคัดย่อ

ทคัดย่อ


               การศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาการเปิดรับสื่อ การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการท่องเที่ยววัดร่องขุ่นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเปิดรับสื่อ การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่อวัดร่องขุ่น และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อกับการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการท่องเที่ยววัดร่องขุ่นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวที่วัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


               ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มาจากเอเชียอาคเนย์ มีอายุ 21 – 30 ปี การศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/อาชีพอิสระ รายได้เฉลี่ย ระหว่าง US$ 1,001 – 2,000 พฤติกรรมการท่องเที่ยววัดร่องขุ่นเป็นการมาครั้งแรก มีสมาชิกในครอบครัวร่วมเดินทาง 4 – 5 คน เดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า 500 บาท/คน เปิดรับข้อมูลข่าวสารวัดร่องขุ่นจากสื่ออินเทอร์เน็ต (YouTube) มากที่สุด มีการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.04) ทัศนคติที่มีต่อการท่องเที่ยววัดร่องขุ่น อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.85) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การเปิดรับสื่อการท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับการรับรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยววัดร่องขุ่น และการเปิดรับสื่อการท่องเที่ยวไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติและพฤติกรรมการท่องเที่ยววัดร่องขุ่นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ข้อเสนอแนะ วัดร่องขุ่นควรจัดทำคู่มือการท่องเที่ยววัดร่องขุ่น อาจเป็นได้ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อผสมมัลติมีเดีย เพื่อให้ความรู้กับนักท่องเที่ยวทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย. https://www.mots.go.th/news/category/656

กาญจนา โชคเหรียญสุขชัย. (2557). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ การค้นหาข่าวสารและการรับรู้วัฒนธรรมไทยสากล เพื่อการสื่อสารท่องเที่ยวสำหรับประชาชนในกลุ่มประเทศอินโดจีน. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

กองวิจัยการตลาดการท่องเที่ยว ททท. (2564). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวไทยในสถานการณ์โควิด – 19. https://tatreviewmagazine.com/article/thai-travel-behavior-in-covidmosphere/

ชลิตา เฉลิมรักชาติ. (2561). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อวัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชูสิทธิ์ ชูชาติ. (2546). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่ 4). ลานนาการพิมพ์.

ไทยโพสต์. (2561). เที่ยว “เชียงราย แต้ แต้” เมืองต้นแบบอย่างยั่งยืน. https://www.thaipost.net/main/detail/9051

เนตรดาว อยู่ยง. (2559). การเปิดรับสื่อ การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการท่องเที่ยวตลาดน้ำคลองลัดมะยมของนักท่องเที่ยวไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปราณปริยา นพคุณ. (2562). ปัจจัยทางการตลาดท่องเที่ยว (7Ps) ที่มีผลต่อการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวดำน้ำลึกในประเทศไทยของนักดำน้ำชาวต่างชาติ. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ผู้จัดการออนไลน์. (2562). “วัดร่องขุ่น ไลท์ เฟส ตอนปฐมบท” อลังการตระการตามัลติมีเดียโชว์ เชิดชูงานศิลปะชาติไทย. https://mgronline.com/travel/detail/9620000112119

พระครูวิมลศิลปกิจ (เรืองฤทธิ์ ธนปญฺโญ), ฤทธิชัย แกมนาค และนเรศร์ บุญเลิศ. (2557). การศึกษารูปแบบและสภาพแหล่งเรียนรู้ของวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย. วิทยาเขตพะเยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิชามญชุ์ ธีระพันธุ์. (2559). การเปิดรับสื่อ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้งานของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อบริการโอนเงินและรับโอนเงินแบบใหม่ “พร้อมเพย์ – PromtPay. [วิทยานิพนธ์ปริญญาหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระมหาผดุงศักดิ์ เสสปุญโญ. (2562). พื้นที่การท่องเที่ยวในวัดพุทธศาสนา : วัดร่องขุ่นและวัดห้วยปลากั้ง. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 5(1), 143-155.

พิธารัตน์ สุขะนินทร์. (2563). การศึกษาการรับรู้ข้อมูล ทัศนคติ และพฤติกรรมที่มีต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

มนรัตน์ ใจเอื้อ. (2558). รูปแบบการตลาดเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม ชุมชนบางหลวง ตำบลบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม.[ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มะลิวัลย์ วงค์ด้วง. (2561). การรับรู้และการเข้าถึงสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวผ่านแคมเปญ “เขาเล่าว่า” ของจังหวัดอุบลราชธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

มหาวิทยาลัยศรีปทุม. (2560). ประกาศเกียรติคุณ อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศรีปุทม ประจำปีการศึกษา 2560. http://arch.spu.ac.th/ประกาศเกียรติคุณ-อาจารย์/

วิไลวรรณ สว่างแก้ว. (2561). อิทธิพลภาพลักษณ์การท่องเที่ยว องค์ประกอบแหล่งท่องเที่ยว และแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวตลาดน้ำของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษา ตลาดน้ำคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิวธิดา ภูมิวรมุนี และอลิศรา ธรรมบุตร. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาหมู่บ้านช้าง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. วารสารศิลปะศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 3(3), 226-240.

ศศิธร พรมมาลา. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อกาแฟสดของผู้บริโภคในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สุริวัสสา นารินคำ, สุดสันต์ สุทธิพิศาล และเฉลิมเกียรติ เฟื่องแก้ว. (2557). พฤติกรรมและรูปแบบของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ในจังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 9(1), 61-79.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: an introductory analysis. Harper. & Row.