การใช้สื่อดิจิทัลเพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ในเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

Main Article Content

อารีรัตน์ งามประยูร
ชนิดา มิตรานันท์

บทคัดย่อ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับพิการ พ.ศ. 2551 หมายถึง บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่าง ๆ และมีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป การจัดการศึกษาให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นกระบวนการที่ต้องคำนึงถึงความแตกต่างเฉพาะบุคคลและความหลากหลายของความต้องการในการเรียนรู้ โดยมีการปรับเปลี่ยนและใช้วิธีการที่เหมาะสมตามลักษณะของเด็กแต่ละคน การเลือกปรับประยุกต์ใช้สื่อและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อใช้ในการสนับสนุนการจัดการศึกษาในการพัฒนา ซึ่งอาจรวมถึงการบกพร่องทางการเรียนรู้ พัฒนาการด้านสติปัญญา อารมณ์ หรือร่างกาย การจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษต้องใช้ความยืดหยุ่นและความเข้าใจที่ลึกซึ้งจากครูและผู้เกี่ยวข้องในการสนับสนุนเด็กให้สามารถเข้าถึงโอกาสในการเรียนรู้เท่าเทียมกับเด็กทั่วไปและสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างผู้เรียน และผู้สอนได้เป็นอย่างดี


การใช้สื่อดิจิทัลในการจัดศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะและความต้องการที่แตกต่างจากเด็กทั่วไป มุ่งเน้นจัดการศึกษาโดยการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ คำนึงถึงความต้องการทางด้านการศึกษาและพัฒนาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา อารมณ์ หรือร่างกาย โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีที่สามารถปรับแต่งได้ตามความสามารถและจุดเด่นของแต่ละบุคคล เช่น แอปพลิเคชั่นการเรียนรู้แบบโต้ตอบ สื่อวิดีโอ และเกมการศึกษา และการประยุกต์ใช้สื่อดิจิทัลให้เหมาะสมนั้นควรได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองและครูผู้สอน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการพัฒนาเด็กกลุ่มนี้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กิตติ กุตนันท์. (2564). เทคโนโลยีกับการมีอาชีพของเด็กพิเศษในโลกดิจิทัล. บทความวิชาการสาขาวิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตและคนพิการ. (2556). คู่มือการออกแบบสภาพแวดล้อมสำหรับคนพิการและคนทุกวัย. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 31 พฤษภาคม 2568). จาก http://web1.dep.go.th/? q=th/services

จุฑา ภักดีกุล. (2015). เด็กยุคดิจิตอล. สารานุกรมศึกษาศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2568. http://ejournals.sw u.ac.th/index.php/ENEDU/article/download.

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). สรุปผบการสำรวจข้อมูลสถานภาพการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและการเข้าใจดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ.2566. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา

วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). Digital literacy. สืบค้นจาก https://www.ops.go.th.

อมรรัตน์ แช่กวั่ง. (2016) การจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อใหม่. วารสารมนุษย์และสังคมศาสตร์, 8(1),251-274. http://www.ir.sru.ac.th/bitstream

อภิญญา เชื้อวงษ์ (2565). การพัฒนาสื่อดิจิทัลสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. วารสารเทคโนโลยีการศึกษา 20(1): 55-66.

Branch, R. M. (2009). Instructional design: The ADDIE approach. Springer.

Christensen, C. M., Horn, M. B., & Johnson, C. W. (2008). Disrupting class: How disruptive innovation will change the way the world learns. New York: McGraw-Hill.

Holmes, W., Bialik, M., & Fadel, C. (2019). Artificial intelligence in education. Paris: UNESCO.

Jamais Cascio. (2020, 30 April). Facing The Age of Chaos. https://medium.com/@cascio/facing the-age-of-chaos-b00687b1f51d

Keir, W. (2016). Digital medio in a special educational needs classroom a student. UK: Queen Mary University impairment. BMC Public Health, 23(181). http://doi.org/10.1186/s12889-023-15094-z

Mariam, M. & Rosazila, R. 2020). Teacher perceptions on the use of digital storytelling among autism spectrum disorder children in Molaysia: Malaysia: University sains Malaysia.

Mayer, R. E. (2009). Multimedia learning. New York: Cambridge University Press.

Means, B., Toyama, Y., Murphy, R., Bakia, M., & Jones, K. (2013). Evaluation of evidence-based practices in online learning: A meta-analysis and review of online learning studies. Washington, DC: US Department of Education.

Pettersson, L., Johansson, S., Demmelmaier, I, & Gustavsson, C. (2023). Disabilty digital divide: Survey of accessibility of Health services as perceived by people with and without.

Van Dijk, J. (2020). The digital divide. Cambridge: Polity.

Verenikina, I, & Kervin, L. (2011). iPads, digital play and pre-schoolers. Retrieved July 2, 2020, from: https://www.hekupu.nztertiarycollege.ac.nz/sites/default/files/2017-11/iPads-Digital-Play-and-Preschoolers.pdf.

UNESCO. (2016). Rethinking education: Towards a global common good Paris: Author.

US Department of Education. (2020). The Individuals with Disabilities Education Act (IDEA). Retrieved from: https://www.congress.gov/crs-product/R41833

Silva E. (2020). What school closures mean for students with disabilities, New America. Retrieved from: https://www.newamerica.org/education-policy/edcentral/what-school-closures-mean-students-disabilities/