ช่องว่างของความคาดหวังจากผู้ประกอบการที่มีต่อคุณลักษณะบัณฑิตในจังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาคุณลักษณะของบัณฑิตตามความคาดหวังของสถานประกอบการในจังหวัดเชียงราย และ 2. เพื่อวิเคราะห์ช่องว่างคุณลักษณะบัณฑิตตามความคาดหวังของผู้ประกอบการกับที่ในจังหวัดเชียงรายผลิตได้คุณลักษณะบัณฑิตตามความคาดหวังของผู้ประกอบการที่มีต่อบัณฑิตคณะวิทยาการจัดการ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้ประกอบการจากสถานประกอบการต่าง ๆ ที่รับบัณฑิตเข้าทำงาน จำนวน 252 คน ด้วยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามความคาดหวังต่อคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือด้วย Cronbach’s Alpha ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.95 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะบัณฑิตกับความคาดหวังของผู้ประกอบการในแต่ละด้าน และใช้ t-test แบบคู่ (Paired Samples t-test) ซึ่งใช้วัดความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของแต่ละด้าน
ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะของบัณฑิตตามความคาดหวังของสถานประกอบการในจังหวัดเชียงราย อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความคาดหวังลำดับแรก คือด้านทักษะการสื่อสาร ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงถึง 4.51 รองลงมาคือด้านองค์ความรู้ ที่มีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ 4.49 และด้านมีปฏิภาณไหวพริบ 4.48 ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุดคือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม มีบุคลิกภาพและพฤติกรรมที่เหมาะสม 4.39 ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน 2) การวิเคราะห์ช่องว่างระหว่างคุณลักษณะบัณฑิตตามความคาดหวังของสถานประกอบการกับที่ในจังหวัดเชียงรายผลิต พบว่า ช่องว่างระหว่างคุณลักษณะบัณฑิตตามความคาดหวังของสถานประกอบการกับที่ในจังหวัดเชียงรายผลิตได้ยังสามารถที่จะพัฒนาหลักสูตรหรือการเรียนสอนต่อไปได้ตามความต้องการของผู้ประกอบการ ซึ่งมีเพียงด้านเดียวที่ยังไม่ต้องเติมเต็มช่องว่าง คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ส่วนด้านที่ต้องพัฒนาและเติมเต็มช่องว่าง ตามลำดับ คือ ด้านทักษะการสื่อสาร ด้านทักษะเฉพาะทางวิชาชีพ ด้านองค์ความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยี และด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แม้จะอยู่ในระดับคาดหวังมาก แต่มีค่าเฉลี่ยและความสม่ำเสมอของความเห็นที่น้อยกว่าด้านอื่น จึงควรได้รับการส่งเสริมเพิ่มเติมผ่านกิจกรรมเสริมหลักสูตรและการฝึกปฏิบัติอย่างเป็นระบบ เพื่อยกระดับบัณฑิตให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of TCI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจํากัด สามลดา.
คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา (2557). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษภายในสถาบัน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557. พิมพ์ครั้งที่ 3: สิงหาคม 2560.สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.
ณัฐนันท์ ประสีระเตสัง. (2561). ความต้องการของผู้ประกอบการ ต่อคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์สาขาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม. ปริญญามหาบัณฑิต คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ณฐภศา เดชานุเบกษา. (2564). ความคาดหวังของสถานประกอบการในการทาข้อตกลงความร่วมมือในการร่วมผลิตบัณฑิตกับหลักสูตรแบบบูรณาการกับการทำงาน. ทุนอุดหนุนการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ศิริพร เจริญศรีวิริยะกุล (2564). ความคาดหวังของสถานประกอบการที่มีต่อคุณลักษณะของนักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. 5th ed. New York: Harper Collins Publishers. pp. 202-204.
Lalley, J.P., & Miller, H. (2007). The learning pyramid: Does it point teachers in the right direction?, Journal of Examining the Learning Education, 128(1), 68