สัดส่วนความงามในศิลปกรรมไทยทรงบุษบก

ผู้แต่ง

  • อานุภาพ จันทรัมพร อาจารย์ประจำภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

DOI:

https://doi.org/10.69598/decorativeartsjournal.2.116%20-%20138

คำสำคัญ:

สัดส่วน, ความงาม, บุษบก

บทคัดย่อ

สถาปัตยกรรมทรงบุษบก เป็นศิลปกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองการใช้งานในพระพุทธศาสนา พิธีกรรม สถาบันกษัตริย์ นั่นคือ การเทศน์ ดังนี้แล้ว การออกแบบและการประดับประดาเพื่อสร้างให้เกิดความสำคัญและความศักดิ์สิทธิ์ มีคติความเชื่อเป็นแนวความคิดในการออกแบบและสร้างสรรค์ดังที่ทราบกันมา หากแต่เมื่อเราได้ศึกษาบริบทของศิลปกรรมทรงบุษบกและความเกี่ยวเนื่องกับการใช้พื้นที่ทั้งเพื่อใช้ในการเทศน์แสดงธรรม  และการจัดวางตำแหน่งองค์ประกอบในพื้นที่ศาลาการเปรียญ  จากการรวบรวมศึกษาเปรียบเทียบในหลายพื้นที่พบว่า  แนวทางการทำให้เกิดสุนทรียภาพในพื้นที่กับการใช้สอยที่ดีและยังสะท้อนคติความเชื่อในทางพระพุทธศาสนานั้น  เกิดจากการกำหนดแนวทางการออกแบบที่ใช้หลักวิชาแม้ว่าไม่ได้อธิบายอย่างชัดเจน  เนื่องจากโดยทั่วไปเราทราบและรับรู้ความงามในศิลปกรรมไทยทรงบุษบกและพื้นที่อันเกี่ยวเนื่องแต่ไม่ทราบถึงที่มาหรือเหตุแห่งความงามทั้งหมดได้  การศึกษาจึงใช้กระบวนการถอดรหัสออกมาเป็นหลักวิชาทางศิลปะเพื่อแสดงให้เห็นแนวทางการออกแบบและการสร้างสรรค์ทั้งหมด  ในการศึกษาศิลปกรรมทรงบุษบกแบบไทยประเพณีโดยใช้ธรรมาสน์เป็นทรงบุษบกอันเป็นโครงสร้างสถาปัตยกรรมขนาดเล็กเป็นตัวอย่างของการศึกษาโดยเปรียบเทียบกัน  จากข้อสังเกตในสมมติฐานที่เชื่อว่า  มีแนวทางในการกำหนดสัดส่วนความงามให้ลงตัวด้วยระบบหรือหลักวิชาที่แน่ชัดได้ มีวิธีเทียบเคียงหรือหาสัดส่วนทางเรขาคณิตบางประการในการออกแบบและการสร้างสรรค์ศิลปกรรมธรรมาสน์ทรงบุษบกแบบประเพณีของไทยจนเกิดความนิยมในการใช้ทรวดทรงผสานกับการใช้งานที่สมบูรณ์เป็นอย่างดี ผลจากการศึกษาเกิดข้อค้นพบในการอธิบายสัดส่วนความงามต่อศิลปกรรมทรงบุษบกที่ไม่ใช่การอาศัยความพึงพอใจเฉพาะตัวของช่าง หากแต่เกิดจากการออกแบบปรับสัดส่วนหาความลงตัวสู่การใช้ตามวัตถุประสงค์และยังสามารถนำไปอธิบายและกำหนดการใช้ทฤษฎีสัดส่วนในศิลปกรรมไทยได้อีกด้วย

References

กรมศิลปากร. (2559). มัณฑนศิลป์ไทย-อาเซียน. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

กรมศิลปากร. (2561). องค์ความรู้เรื่องรูปแบบ ลวดลายประดับ และวัสดุก่อสร้าง ของปรางค์สมัยอยุธยา พระนครศรีอยุธยา:เทียนวัฒนา.

เกรียงไกร เกิดศิริ. (2560). งานพระเมรุ: ศิลปะสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมเกี่ยวเนื่อง. มติชน.

ฉวีงาม มาเจริญ. (2520). บุษบกธรรมาสน์. การศาสนา.

โชติ กัลยาณมิตร. (2539). สถาปัตยกรรมไทยเดิม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปฏิพัทธ์ ดาระดาษ. (2538). ลายไทย ภาพไทย ๑. งานดี.

พระพรหมพิจิตร. (2495). พุทธศิลป์สถาปัตยกรรมภาคต้น. กรมศิลปากร.

สมคิด จิระทัศนกุล. (2546). คติ สัญลักษณ์ และความหมาย ของซุ้มประตู-หน้าต่างไทย. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พัชลิชชิ่ง.

ปิยลดา เทวกุล ทวีปรังสีพร, หม่อมหลวง. (2557). คำ ความคิด สถาปัตยกรรม ว่าด้วยทฤษฎีสถาปัตยกรรมในโลกโพสต์โมเดิร์น.ลายเซ็น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-12-2023

How to Cite

จันทรัมพร อ. (2023). สัดส่วนความงามในศิลปกรรมไทยทรงบุษบก. DEC Journal, 2(3), 116–138. https://doi.org/10.69598/decorativeartsjournal.2.116 - 138