การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากทุนทางวัฒนธรรมสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • ดนัย เรียบสกุล รองศาสตราจารย์ ภาควิชาศิลปะและการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยนเรศวร

DOI:

https://doi.org/10.69598/decorativeartsjournal.2.58%20-%2095

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์, ทุนทางวัฒนธรรม, สุโขทัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากทุนทางวัฒนธรรมสุโขทัย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ New Outlook on the Old Capital City: A Workshop on Preserving and Promoting Cultural Heritage, Identities, and Expressions through Contemporary Design in Sukhothai Province ดำเนินงานโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การยูเนสโก และความร่วมมือจาก มหาวิทยาลัยนเรศวร  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ วิทยาลัยการอาชีพศรีสัชนาลัย สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ชุมชนทอผ้า และผู้ประกอบการด้านเครื่องประดับในจังหวัดสุโขทัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ ให้ความรู้กับเยาวชน ด้านทุนทางวัฒนธรรมสุโขทัย สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากทุนทางวัฒนธรรมสุโขทัย และจัดแสดงผลงานผ่านนิทรรศการเสมือนจริง โดยศึกษาข้อมูลด้านเอกสาร จัดอบรมให้ความรู้ ลงพื้นที่ ออกแบบและผลิตผลงาน ซึ่งใช้แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านทุนทางวัฒนธรรมสุโขทัย แบบประเมินการจัดอบรม และแบบประเมินความพึงพอใจนิทรรศการเสมือนจริง ผลการวิจัยพบว่า การเผยแพร่ ให้ความรู้กับเยาวชน ด้านทุนทางวัฒนธรรมสุโขทัย มีผู้เข้าร่วม จำนวน 58 คน จาก 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดสุโขทัย โดยให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม โดยคุณธีรศักดิ์ ธนูศิลป์ นักโบราณคดี กองโบราณคดี กรมศิลปากร  ด้านเมืองสร้างสรรค์ โดยคุณวีรวิทย์ ฉันทวรางค์ ผู้อำนวยฝ่ายอำนวยการ อพท.4 ผู้ประสานงานหลัก เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์สุโขทัย  ด้านเครื่องประดับสุโขทัย โดยคุณกริชเพชร อัฐวงศ์  ด้านเครื่องจักสาน โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อังกาบ บุญสูง ด้านสิ่งทอสุโขทัยโดย อาจารย์ ดร.ธัชชัย อยู่ยิ่ง รวมถึงด้านการสร้างสรรค์งานออกแบบจากวัฒนธรรม โดย คุณวิชระวิชญ์ อัครสัติสุข ซึ่งผู้เข้าร่วมการอบรมได้รับความรู้ด้านอัตลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดสุโขทัย  ตระหนักถึงความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมของไทย กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ และสามารถต่อยอดองค์ความรู้ไปใช้ในผลงานออกแบบและชุมชนในอนาคต เกิดแรงบันดาลใจในการประยุกต์งานออกแบบร่วมสมัยจากต้นทุนทางวัฒนธรรม ซึ่งเมื่อแนวความคิดในการประยุกต์ใช้วัฒนธรรมเกิดการเรียนรู้ ก็จะส่งผลต่อความหลากหลายของผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ กระทั่งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศและระดับสากลต่อไป ผลงานสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบโดยใช้แรงบันดาลใจจากทุนทางวัฒนธรรมสุโขทัยด้านต่าง ๆ มีทั้งหมด 4 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือจำนวน 5 ลาย ได้แก่ ลายบัวแห่งภูมิปัญญา ลายสัญญะสุโขทัย ลายพิกุล ลายเผาเทียนเล่นไฟ และลายในน้ำมีปลาในนามีข้าว สร้างสรรค์ร่วมกับเทคโนโลยีเออาร์ (Augmented Reality) มาร่วมกับลายผ้าทอ เครื่องประดับเงินจำนวน 4 ชุด ประกอบด้วย ชุดลายสังคโลก ชุดจักสาน ชุดสังคโลก ชุดปลาตะเพียน ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายที่ตัดเย็บจากผ้าทอและผ้าพิมพ์ลาย จำนวน 10 ชุด ผลิตภัณฑ์รองเท้าจากผ้าพิมพ์ลาย จำนวน 10 คู่ และการจัดแสดงผลงานผ่านนิทรรศการเสมือนจริง โดยนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาพสามมิติ ภาพถ่าย วิดีโอ โดยมี จำนวน 4 โซน ประกอบด้วย โซนที่ 1 จัดแสดงเครื่องแต่งกายหญิง และ ชาย ที่ใช้ผ้าทอและผ้าพิมพ์ลายจากโครงการ โซนที่ 2 จัดแสดงผ้าทอ โซนที่ 3 จัดแสดง รองเท้าและเครื่องประดับ และโซนที่ 4 จัดแสดงแบบร่างผลงานออกแบบของเยาวชนที่เข้าร่วมอบรม โดยประเมินผลจากผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม จำนวน 5 ท่าน พบว่าข้อมูลมีประโยชน์ นำไปใช้ต่อยอดได้ ภาพประกอบและวิดีโอผลงานสวยงาม ชัดเจน ข้อมูลมีความชัดเจน ถูกต้อง ข้อมูลสื่อความหมาย เข้าใจง่าย การออกแบบโครงสร้างสามมิติ แปลนของพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง ระบบเมนูง่ายต่อการใช้งาน ขนาดตัวอักษร รูปแบบตัวอักษร สวยงาม อ่านง่าย การเข้าถึงระบบทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ข้อมูลมีปริมาณเพียงพอตามความต้องการ  ความรวดเร็วในการแสดงข้อมูล (เช่น ภาพ วิดีโอ ข้อความ)

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2566). แผนปฏิบัติราชการ ระยะเวลา 5 ปี ของกระทรวงวัฒนธรรม. กระทรวงวัฒนธรรม

กลวัชร คล้ายนาค. (2551). การสร้างพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงเพื่อส่งเสริมการศึกษาสถาปัตยกรรมไทย : กรณีศึกษาเรือนไทยลื้อ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดนัย เรียบสกุล. (2565). Cultural Creativity การสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม: สุโขทัย. ภาพพิมพ์. สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2545). ถึงเวลา...แปลงวัฒนธรรมเป็นทุน. สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

บุญชู บุญลิขิตศิริ และคณะ. (2558). รูปแบบพิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมเสมือนภาคตะวันออก. มหาวิทยาลัยบูรพา

บุศรา วัชรกาฬ. (2553). การจัดการทุนทางวัฒนธรรม: ชุมชนบ้านคลองวัว หมู่ที่ 5 ตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. (2560). ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

พนิตสุภา ธรรมประมวล. (2560). การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาศักยภาพทุนทาง วัฒนธรรมชุมชนลาวแง้ว ตำบลทองเอน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

วันทนา สุวรรณรัศมี. (2551). รูปแบบพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงเพื่อการศึกษา. เทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สัญญา สดประเสริฐ, พระครูใบฎีอภิชาต พรสุทธิชังพงศ์, พระครูปลัดประวิทย์ ทรัพย์อุไรรัตน์ และพระครูใบฎีกาธีรยุทธ ภู่โคกหวาย. (2563). กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในการพัฒนาศักยภาพทุนทางทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมไทย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี.

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กระทรวงศึกษาธิการ.

อาทิตย์ บุดดาดวง และสุภรรณี ไชยอำพร. (2555). ความสามารถในการนำทุนทางสังคมออกมาใช้ของชุมชนบ้านบางไพร อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Foo, S. (2008). Online virtual exhibitions: Concepts and design. Considerations.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-12-2023

How to Cite

เรียบสกุล ด. (2023). การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากทุนทางวัฒนธรรมสุโขทัย. DEC Journal, 2(3), 58–95. https://doi.org/10.69598/decorativeartsjournal.2.58 - 95