การออกแบบชิ้นงานสำหรับการพิมพ์ 3 มิติได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
DOI:
https://doi.org/10.69598/decorativeartsjournal.1.186-210คำสำคัญ:
การพิมพ์ 3 มิติ, การออกแบบ, การทำต้นแบบบทคัดย่อ
บทความ“การออกแบบชิ้นงานสำหรับการพิมพ์ 3 มิติได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด” เกิดขึ้นเนื่องจากแนวคิดและกระแสในปัจจุบันที่เทคโนโลยีการผลิตชิ้นงานต้นแบบพัฒนาขึ้นเป็นอย่างมาก และการเข้าถึงเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เป็นที่แพร่หลาย จากเดิมที่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่มีความคิดว่าเครื่องมือชนิดนี้สามารถผลิตชิ้นงานต้นแบบได้ง่าย รวดเร็ว และ ลดข้อจำกัดต่าง ๆ ของการผลิตลงเมื่อเทียบกับการผลิตชิ้นงานต้นแบบด้วยวิธีอื่น แต่ในทางกลับกันการใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ที่ไม่ใช่ระดับอุสาหกรรมก็ส่งผลกับการทำชิ้นงานต้นแบบ โดยจากเดิมที่ใช้ทักษะการทำต้นแบบด้วยตนเอง ไปสู่การจ้างผลิตต้นแบบกับร้านค้าที่มีบริการรับพิมพ์ 3 มิติ รวมไปถึงก่อให้เกิดปริมาณขยะพลาสติกเพิ่มมากขึ้นเพราะพลาสติกเป็นวัสดุที่ใช้ในการผลิตเป็นจำนวนมาก ทำให้มีต้นทุนการทำงานที่สูงขึ้นเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับการทำต้นแบบด้วยตนเอง
ดังนั้นการศึกษาหลักการทำงาน และ เงื่อนไขการผลิตของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ส่วนค้ำยัน ลักษณะของชิ้นงานที่สามารถผลิตได้ และ การแก้ปัญหาให้ชิ้นงานสามารถผลิตได้ง่าย มีความสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าใจถึงวิธีการออกแบบชิ้นงานที่เหมาะสำหรับการพิมพ์ 3 มิติ โดยผลการทดลองภายในบทความนี้จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถประหยัดการใช้วัสดุ ลดระยะเวลาในการผลิตและเกิดความคุ้มค่ามากขึ้น โดยเนื้อหาในบทความนี้จะทำให้ผู้อ่านสามารถออกแบบชิ้นงานเพื่อนำไปผลิตผ่านเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
B3D Online. (2019, May 30). FFF/FDM 3D PRINT 101- LAYER HEIGHT, INFILL & SUPPORT. https://www.b3d-online.com/blog-news/ffffdm-3d-print-101-layer-height-infill-support
Chakravorty, D. (2021, November 5). 3D Printing Supports – The Ultimate Guide. https://all3dp.com/1/3d-printing-support-structures.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2022 DEC Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
จัดทำโดย ฝ่ายวิชาการ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ลิขสิทธิ์ของบทความเป็นของเจ้าของบทความ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นทรรศนะของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่รับผิดชอบต่อบทความนั้น