การสร้างสรรค์¬¬¬มาสคอตจากบริบททางวัฒนธรรมสู่การเพิ่มมูลค่า

ผู้แต่ง

  • ธีรวัฒน์ พจน์วิบูลศิริ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

DOI:

https://doi.org/10.69598/decorativeartsjournal.2.126-157

คำสำคัญ:

มาสคอต, บริบททางวัฒนธรรม, มูลค่า

บทคัดย่อ

บทความ “การสร้างสรรค์มาสคอตจากบริบททางวัฒนธรรมสู่การเพิ่มมูลค่า” นี้ มุ่งเน้นที่จะศึกษาประวัติความเป็นมาตามเส้นเวลา ตั้งแต่เป็นตัวละคร การ์ตูน จนพัฒนามาเป็นมาสคอต รวมไปถึงรูปแบบ และหลักการออกแบบสร้างสรรค์ ตลอดจนการใช้บริบททางวัฒนธรรมมาเป็นแนวความคิดในการออกแบบ สู่การบูรณาการในการเรียนการสอนในรายวิชา

ที่เกี่ยวข้องในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ข้อมูลเกี่ยวกับมาสคอตในประเทศไทยมีอยู่น้อย ทั้งนี้เนื่องจากพัฒนาการของมาสคอต ในประเทศไทยเริ่มมาเมื่อไม่นานนัก โดยเฉพาะมาสคอตที่มีที่มาจากบริบททางวัฒนธรรม ในช่วงแรกนั้นได้อยู่ในรูปแบบของ ตัวการ์ตูนเป็นส่วนใหญ่ จนตัวการ์ตูนหลายตัวถูกพัฒนาต่อมาเป็นมาสคอตที่ได้รับความนิยมและสร้างมูลค่าได้ในต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น นับได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้บริบททางวัฒนธรรมมาออกแบบสร้างสรรค์มาสคอต ความใส่ใจในรายละเอียดตั้งแต่วิธีคิด การนำเสนอ การนำไปใช้งาน กิจกรรม การผลิตเป็นสินค้าของฝากของที่ระลึกและผลิตภัณฑ์

ต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่ช่วยให้มาสคอตนั้นเป็นที่รู้จักในระดับโลก นอกจากประเทศญี่ปุ่นยังมีมาสคอตอีกหลายตัวในหลาย ๆ ประเทศ  ที่สามารถก้าวเข้าสู่การเป็นมาสคอตระดับโลก มาสคอตบางตัวสามารถกลายเป็นไอคอนทางวัฒนธรรม (cultural icon) หรือเป็นบริบททางวัฒนธรรมได้ ด้วยการใช้งานที่ต่อเนื่องยาวนาน ประกอบกับการสร้างภาพลักษณ์ และการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ ในประเทศไทยมาสคอตนับได้ว่าเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งขององค์กร หน่วยงานราชการ หรือกิจกรรมต่าง ๆ   เป็นตัวแทนในการสื่อสารและประชาสัมพันธ์สู่กลุ่มเป้าหมาย แนวโน้มการออกแบบสร้างสรรค์และการใช้งานมีมากขึ้น นักออกแบบสร้างสรรค์ก็มีจำนวนมากขึ้น ในหลายสถาบันการศึกษามีการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสร้างสรรค์มาสคอต โดยเฉพาะการใช้บริบททางวัฒนธรรม เพื่อตอบโจทย์การทำงานต่างวัตถุประสงค์ในรูปแบบที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่น การทำงานออกแบบเพื่อชุมชน การพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ นำไปสู่การสร้างมูลค่า และส่งเสริมจนกลายเป็นซอฟต์ พาวเวอร์ของประเทศต่อไปในอนาคต

References

กฤษบดินทร์ วงค์คำ. (ม.ป.ป.). “มาสคอต” คาแรกเตอร์ตัวการ์ตูนส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่น (ตอนที่ 1 : มาสคอต คือ อะไร?). สถาบันเอเชียศึกษา.http://www.ias.chula.ac.th/article/มาสคอต-คาแรกเตอร์ตัวก/

กฤษบดินทร์ วงค์คำ. (ม.ป.ป.). “มาสคอต” คาแรกเตอร์ตัวการ์ตูนส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่น (ตอนที่ 2 : มาสคอตกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม). สถาบันเอเชียศึกษา. http://www.ias. chula.ac.th/article/มาสคอต-คาแรกเตอร์ตัวก-2/

ณิชมน หิรัญพฤกษ์ และ a-team. (2557). คุมะมง. aday, 14(162), 106-160.

ธีรวัฒน์ พจน์วิบูลศิริ. (2565). แรงบันดาลไทย [เอกสารที่ไม่มีการตีพิมพ์]. สาขาวิชากระบวนจินตภาพคอมพิวเตอร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ.

เธียรทศ ประพฤติชอบ. (ม.ป.ป.). “การ์ตูน” สื่อที่น่าจับตา มาพร้อมมูลค่าที่จับใจ. วารสารการสื่ออสารและการจัดการนิด้า,1(1), 1-13.

นิโคลาส เวร์สแตปเปิน. (2564). การ์ตูนไทย ศิลปะและประวัติศาสตร์. สำนักพิมพ์ริเวอร์ บุ๊คส์.

นิทรรศการ การ์ตูนไทยตายแล้ว?. (2558). สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

นิทรรศการ การ์ตูนไทย ย้อนรอยการ์ตูนในสยาม จากขรัวอินโข่ง สู่การ์ตูนดิจิทัล. (ม.ป.ป.). Sarakadee Lite.https://www.sarakadeelite.com/arts_and_culture/thai-cartoon-history/

นิรวาณ คุระทอง. (2553). ประวัติย่อการ์ตูนไทย. บริษัท สตาร์พิคส์ จำกัด.

ไพโรจน์ ธีระประภา. (2546). การออกแบบตัวแทนประจำจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท].มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไพศาล ธีรพงศ์วิษณุพร. (2561). 140 ปี การ์ตูน เมืองไทย (ประวัติและตำนาน พ.ศ. 2417-2557). สำนักพิมพ์ศรีปัญญา.ไลน์สติ๊กเกอร์ โฮเล่นคาแรคเตอร์ หนุมานลิงจั๊กจั๊ก ทศกัณฐ์ยักษ์รักจริง. (2564). Facebook. https://www.facebook.com/

holenhello/photos/a.1469856100023428/1469856123356759

วรชาติ มีชูบท. (2555). ภาพล้อฝีพระหัตถ์ในรัชกาลที่ 6. บริษัทสร้างสรรค์บุ๊คส์ จำกัด.

วรวิชญ เวชนุเคราะห์. (2533). เส้นสายปลายพู่กัน ชีวิตและงานของ 37 จิตรกรนักวาดภาพการ์ตูนไทยในอดีตตราบจนปัจจุบัน. บริษัท เคล็ดไทย จำกัด.

วรวิชญ เวชนุเคราะห์. (2548). ประวัติการ์ตูนไทย. องค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการ สกสค.

วราภรณ์ มามี. (2565). การออกแบบสัญลักษณ์นำโชค มาสคอต สำหรับส่งเสริมธุรกิจและการท่องเที่ยวของประเทศไทย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

หอภาพยนตร์แห่งชาติ. (2563). หนุมานเผชิญภัยครั้งใหม่ 2500. YouTube. https://www.youtube.com/ watch?v=Z8x5wL3GIXw&t=71s

Admin. (ม.ป.ป.). มาสคอต คืออะไร? ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของธุรกิจได้อย่างไร?. Vithita Animation. https://vithita.com/mascot/โอกาสทางธุรกิจ HOLEN Partners 2019. (2019). Holen. https://holenhello.com/pages/partners Get to Know the Tokyo 2020 Olympics Mascots. (n.d.). JRPass. https://www.jrpass.com/blog/get-to-know-the-tokyo-2020-olympics-mascots

La Mascotte. (n.d.). Wikipedia. https://en.wikipedia.org/wiki/La_mascotte

Mascot Design. (2019). SendPoints Publishing Co., Ltd.

O’Galop. (n.d.). Wikipedia. https://en.wikipedia.org/wiki/O%27Galop

O'Galop - Semelle Michelin. (n.d.). Wikimedia Commons. https://commons.wikimedia.org/wiki/File: O%27Galop_-_Semelle_Michelin.jpg

Kaufman. J., & Gerstein. D., (2020). Walt Disney’s Mickey Mouse the Ultimate History. Taschen.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2023

How to Cite

พจน์วิบูลศิริ ธ. (2023). การสร้างสรรค์¬¬¬มาสคอตจากบริบททางวัฒนธรรมสู่การเพิ่มมูลค่า. DEC Journal : Art and Design, 2(1), 126–157. https://doi.org/10.69598/decorativeartsjournal.2.126-157