การวิจัยสร้างสรรค์ เรื่อง ภายใต้ใบหน้าตัวกาก

ผู้แต่ง

  • อธิพัชร์ วิจิตสถิตรัตน์ สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

DOI:

https://doi.org/10.69598/decorativeartsjournal.2.46%20-%2076

คำสำคัญ:

สร้างสรรค์, ตัวกาก, จิตรกรรมฝาผนัง, ศิลปะสำแดงพลังอารมณ์แบบนามธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยสร้างสรรค์ เรื่องภายใต้ใบหน้าตัวกากนี้เป็นการตีความจากภาพจิตรกรรมฝาผนังในสมัยอยุทธยาตอนต้น ได้แก่ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ วัดราชสิทธาราม  วัดดุสิดาราม ที่แสดงถึงภาพของตัวกากซึ่งเป็นตัวภาพในงานจิตรกรรมไทยที่มีการแสดงออกทางสีหน้าต่างจากตัวภาพอื่นๆ ทีมักไม่แสดงอารมณ์ทางสีหน้า นำมาตีความตามแนวคิดการอ่านภาพ และสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในรูปแบบศิลปะสำแดงพลังอารมณ์แบบนามธรรม เป็นการนำเอาอารมณ์ ความรู้สึกของตัวกากที่อยู่ในภาพจิตรกรรมฝาผนังเหล่านั้นมาแสดงออกผ่านทางการรับรู้และอารมณ์ร่วมของผู้วิจัยมุ่งแสดงอารมณ์ความรู้สึก ภายใน  เพื่อแสดงภาวะความรู้สึกที่สอดคล้องกันใน มิติอารมณ์จากภาพต้นทางสู่การสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะที่เป็นเครื่องมือในการแสดงออกและสื่อสาร แนวคิด อารมณ์ ความรู้สึก ความหมายของผลงานออกไปสู่สาธารณชน ผลงานที่ผ่านการตีความและสร้างสรรค์ออกมานั้นประกอบด้วยผลงาน 6 ชิ้นที่เกี่ยวข้องกับความ กลัว หนี ตาย  โกรธ ทำร้าย สังสรรค์ สนุก เคลิบเคลิ้ม ในรูปแบบงานจิตรกรรม

 

References

กนกวรรณ เรื่อสีจันทร์. (2563) .การเสริมสร้างการควบคุมความโกรธของนักเรียนวัยรุ่นโดยการให้คำปรึกษากลุ่ม. [ปริญญานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กระทรวงสาธารณสุข (2552). จำนวนองค์กรแห่งความสุข ที่มีคุณภาพมาตรฐาน. http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi-list/view/?id=1531

เกสร มุ้ยจีน (2559). การสร้างความสุขด้วยจิตวิทยาเชิงบวก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 24(4), 675-685.

ชุติมา รอดสุด (2550). ผลการเรียนการสอนตามแนวคอนสตัรกติวิสต์ที่มีต่อมโนทัศน์ชีววิทยาและความสามารถในการให้ เหตุผลเชิงอุปนัยของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย.วารสารอิเล็กทรอนิกส์ คณะคุรุศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 1014-1025.

นิทรรศการ "ภาพกาก” จิตรกรรมฝาผนัง. (2020). กาก. http://exhibition.contestwar.com/node/2699

บุรินทร์ รุจจนพันธ์. (2555). ทฤษฎีสมองสามส่วน ถูกใช้อธิบายพฤติกรรม และความคาดหวังที่แตกต่างกันได้. http://www.thainame.net/edu/?p=3899

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. (2565). ทฤษฎีการลงโทษ. https://www.stou.ac.th/schools/slw/upload/41716_6.pdf

ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์. (2562). ศิลปะแห่งการสาดสี และท่าทีของการประท้วงด้วยศิลปะ. https://thematter.co/thinkers/protest-with-art/122818

สมเกียรติ ตั้งนโม. (2555). วัฒนธรรมทางสายตาในชีวิตประจำวัน. https://www.artbangkok.com/?p=6285

สุธีรา มิตรนิวัฒน์. (2555). ความกลัว : เรื่องที่ไม่น่ากลัว. ศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 7(13), 45-55. http://arts.hcu.ac.th/upload/files/JournalLib/2555/7-7-13-55%5Bfull%5D.pdf

หัตถพันธ์ วงชารี. (2559). การพัฒนาและตรวจสอบมาตรวัดความเชื่อเกี่ยวกับการลงโทษทางร่างกายในสังคมไทย. [ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิวันทน์ ดุลยพิเชฏฐ์. (2555). จิตรกรรมฝาผนังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.

Bamford, A. (2003). The visual literacy white paper. Adobe Systems Pty Ltd., Australia from http://www.adobe.co.uk/education/pdf/ adobe_visual_literacy_ paper.pdf. P.14

Escalona, Alejandro. (n.d.). 75 years of Picasso’s Guernica: An Inconvenient Masterpiece. https://www.huffpost.com/entry/75-years-of-picassos-guernica_b_1538776

Panu Boonpipattanapong. (2020). ศิลปะแห่งการสาดสี และท่าทีของการประท้วงด้วยศิลปะ. https://thematter.co/thinkers/protest-with-art/122818

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-08-2023

How to Cite

วิจิตสถิตรัตน์ อ. . (2023). การวิจัยสร้างสรรค์ เรื่อง ภายใต้ใบหน้าตัวกาก. DEC Journal, 2(2), 46–76. https://doi.org/10.69598/decorativeartsjournal.2.46 - 76