ลวดลายประดับของพระที่นั่งอนันตสมาคม และการวิเคราะห์เชื่อมโยงสถาปัตยกรรมตะวันตก
DOI:
https://doi.org/10.69598/decorativeartsjournal.1.140-167คำสำคัญ:
พระที่นั่งอนันตสมาคม, ลวดลายประดับ, สถาปัตยกรรมตะวันตกบทคัดย่อ
บทความนี้ต้องการศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมของพระที่นั่งอนันตสมาคม และสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 - 19 เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงเปรียบเทียบเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของลวดลายประดับกับตำแหน่ง และลักษณะการประดับตกแต่ง จากการศึกษาข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ของพระที่นั่งอนันตสมาคม ที่ได้สร้างขึ้นตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)ในพ.ศ.2451เมื่อเปรียบเทียบช่วงเวลาในการสร้างสามารถสรุปได้ว่าพระที่นั่งอนันตสมาคมได้รับแรงบันดาลใจมาจากงานศิลปกรรมของชาติตะวันตกที่อยู่ในยุคของการนำรูปแบบงานศิลปะในยุคโบราณ คือ กรีกและโรมันกลับนำมาใช้ใหม่ เรียกงานศิลปกรรมในยุคนี้ว่า ลัทธิผสมผสาน (Eclecticism) โดยเฉพาะงานสถาปัตยกรรมที่มีการผสมผสานรูปแบบจากยุคสมัยต่าง ๆ เข้าด้วยกัน สถาปนิกได้รับเอาอิทธิพลกระบวนแบบของ 1) สถาปนิกกลุ่มลัทธิผสมผสาน : วิธีการและวัสดุก่อสร้างตามประเพณีนิยม 2) สถาปนิกกลุ่มบาโรกใหม่ : เป็นการฟื้นฟูความหรูหรา มาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อได้วิเคราะห์ข้อมูลในเชิงเปรียบเทียบทำให้พบว่าสถาปัตยกรรมของพระที่นั่งอนันตสมาคมมีองค์ประกอบของลวดลาย ระเบียบของการประดับ การประยุกต์ใช้ลายประดับที่ใกล้เคียง เชื่อมโยงกับสถาปัตยกรรมตะวันตก แต่สถาปนิกได้มีการดัดแปลงรายละเอียดเพื่อให้เหมาะสมกับคตินิยม และประโยชน์ใช้สอยอย่างไทยได้อย่างกลมกลืน
References
ธงทอง จันทรางศุ. (2530). พระที่นั่งอนันตสมาคม. อักษรสัมพันธ์.
พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์. (2558). พระที่นั่งอนันตสมาคม. http://sac.or.th/databases/thaiarts/artwork/16
รมิดา โภคสวัสดิ์ และ ศิริวรรณ อาษาศรี. (2559, 20 กันยายน). ๑๐๐ ปี พระที่นั่งอนันตสมาคมสถาปัตยกรรมแห่งสยาม. ศิลปวัฒนธรรม. https://www.silpa-mag.com/history/article_11626
อัศนี ชูอรุณ. (2546). ประวัติศาสตร์ศิลปะยุคฟื้นฟูและยุคใหม่. โอเดียนสโตร์.
Harris, C. M. (1983). Illustrated dictionary of historic architecture. New York Dover Publisher.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2022 DEC Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
จัดทำโดย ฝ่ายวิชาการ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ลิขสิทธิ์ของบทความเป็นของเจ้าของบทความ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นทรรศนะของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่รับผิดชอบต่อบทความนั้น