โครงสร้างองค์ประกอบศิลป์ในจิตรกรรมฝาผนังไทย

ผู้แต่ง

  • อานุภาพ จันทรัมพร ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

DOI:

https://doi.org/10.69598/decorativeartsjournal.3.106-129

คำสำคัญ:

โครงสร้าง, องค์ประกอบศิลป์ , จิตรกรรมฝาผนังไทย

บทคัดย่อ

การอธิบายหลักองค์ประกอบศิลป์ในจิตรกรรมไทยประเพณี โดยเฉพาะวิธีการจัดวางโครงสร้างภาพ มักใช้กระบวนการวิธีในการอธิบายตามทฤษฎีการสร้างภาพและการประกอบกันของรูปทรงอย่างตะวันตก ซึ่งอาจให้ความเข้าใจได้ในระดับหนึ่ง หากแต่จิตรกรรมฝาผนังของไทยโบราณไม่ได้คำนึงถึงวิธีการสร้างองค์ประกอบศิลป์ตามหลักวิธีวิทยาแบบตะวันตก จึงเกิดปัญหาในรูปแบบหลายประเด็นที่หลักวิธีวิทยาอย่างตะวันตกไม่สามารถอธิบายได้ทั้งหมด เนื่องจากช่างไทยมีแนวคิดในการออกแบบ การวางโครงสร้างภาพ การลำดับการเล่าเรื่อง การสร้างความรู้สึก ความงาม ความพึงพอใจเฉพาะตัว จากความรู้การพัฒนาทักษะเชิงประสบการณ์ การกำหนดวิธีอธิบายโครงสร้างองค์ประกอบศิลป์ในจิตรกรรมฝาผนังไทยจึงไม่ได้ถูกอธิบายหรือรวบรวมไว้เป็นระบบที่ชัดเจน การอธิบายในแต่ละกลุ่มช่างต่างกันออกไปตามกรรมวิธีที่ต้องการอธิบายเป็นการเฉพาะ การถ่ายทอดความจำหรือการจดบันทึกเพื่อกล่าวถึงจิตรกรรมฝาผนังอาจไม่เป็นแบบแผนหรือกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัด เมื่อศึกษาจากการรวบรวมและเปรียบเทียบในหลายแห่งพบว่าการออกแบบจิตรกรรมของช่างไทยโบราณนั้นมีหลักนิยมหรือแนวทางอย่างนิยมอยู่ แต่ว่าไม่ได้มีการบันทึกองค์ความรู้ด้านศิลปะการออกแบบอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร แม้ว่าผลงานเป็นแบบอย่าง กระทำตามอย่างได้ เสมือนเป็นการบันทึกของครูช่าง แต่การทำตามอย่างเมื่อไม่ได้มีความเข้าใจอย่างละเอียด ย่อมทำให้แบบอย่างเคลื่อนคลายออกไป เกิดการพัฒนาหรือคลี่คลายเป็นแบบลักษณะเฉพาะตัวได้ด้วย มีความเป็นอิสระได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามการพยายามทำความเข้าใจว่าโครงสร้างองค์ประกอบศิลป์ในจิตรกรรมฝาผนังไทยมีแบบแผนหลักอย่างไร และแต่ละแบบแผนการสร้างองค์ประกอบศิลป์นั้นมีความเหมาะสมแก่การนำไปใช้อย่างไร ประกอบกับเป็นแนวทางเพื่อการพัฒนาหรือต่อยอดองค์ความรู้นี้ไปสู่การประยุกต์ใช้ในลักษณะอื่นได้ต่อไป  จากแนวสมมติฐานการกำหนดโครงสร้างจิตรกรรมฝาผนังไทยมีแบบแผนตามอย่างครูช่างเป็นหลักวิธีที่นิยม จึงเลือกสุ่มตัวอย่างเฉพาะที่ศึกษาจากจิตรกรรมช่างหลวงหรือตามแบบอย่างช่างหลวงที่เป็นที่รู้จักและนิยมใช้อ้างอิงเพื่อการศึกษา โดยแยกองค์ประกอบศิลป์ตามส่วนต่าง ๆ ของฝาผนังโบสถ์หรือวิหาร จึงแสดงความสัมฤทธิ์ผลในภูมิปัญญาด้านการออกแบบ ทั้งการเล่าเรื่องราว การแสดงอารมณ์ความรู้สึก สุนทรียภาพ ความกลมกลืนและรสนิยมเฉพาะ

References

กำจร สุนพงษ์ศรี. (2556). สุนทรียศาสตร์ หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปะวิจารณ์. วี พริ้นท์ (1911).

เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. (2556). ความเข้าใจในจิตรกรรมไทยประเพณี. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉัตรชัย อรรถปักษ์. (2548). องค์ประกอบศิลปะ. วิทยพัฒน์.

ชลูด นิ่มเสมอ. (2531). องค์ประกอบของศิลปะ. อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊ฟ.

ชลูด นิ่มเสมอ. (2532). การเข้าถึงศิลปะในงานจิตรกรรมไทย. อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊ฟ.

บุญมี พิบูลย์สมบัติ. (2543). วัดเกาะ จังหวัดเพชรบุรี. เพชรภูมิการพิมพิ์.

ปรีชา เถาทอง. (2548). จิตรกรรมไทยวิจักษ์. ม.ป.ท.

สน สีมาตรัง. (2556). คติความเชื่อไตรภูมิและจักรวาลวิทยาในจิตรกรรมฝาผนังไทย. แปลน พริ้นติ้ง.

สมชาติ มณีโชติ. (2529). จิตรกรรมไทย. โอ เอส พริ้นติ้ง เฮาท์.

สุรชัย จงจิตงาม. (2567). จิตรกรรมฝาผนัง พุทธศตวรรษที่ 19-สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธปรัชญา ที่มา ความหมาย. มิวเซียม เพรส.

สุรศักดิ์ เจริญวงศ์. (2533). เอกสารการสอนชุดวิชา ศิลปะกับสังคมไทย. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2024

How to Cite

จันทรัมพร อ. . (2024). โครงสร้างองค์ประกอบศิลป์ในจิตรกรรมฝาผนังไทย. DEC Journal, 3(3), 106–129. https://doi.org/10.69598/decorativeartsjournal.3.106-129