การสืบสานสกุลช่างทองเมืองเพชรผ่านการออกแบบเครื่องประดับร่วมสมัย

ผู้แต่ง

  • ปฐมาภรณ์ ประพิศพงศ์วานิช ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

DOI:

https://doi.org/10.69598/decorativeartsjournal.1.35-58

คำสำคัญ:

เครื่องประดับร่วมสมัย, เพชรบุรี, ช่างทอง, อนุรักษ์, มรดกทางวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

จังหวัดเพชรบุรีถูกกล่าวขานว่าเป็นถิ่นช่างฝีมือมาช้านาน นับตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา มีการสืบสานงานฝีมือแขนงต่าง ๆ ซึ่งผลงานการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมของ “สกุลช่างเมืองเพชร” ถือเป็นมรดกของชาติที่มีเอกลักษณ์ ผลงานได้รับการเผยแพร่จนเป็นที่ยอมรับ มีการพัฒนาสืบทอดมายังรุ่นลูกหลาน กระทั่งได้รับการยกย่องว่าจังหวัดเพชรบุรีเป็นเสมือนกรุงศรีอยุธยาที่ยังมีชีวิต ซึ่งหนึ่งในงานสกุลช่างเพชรบุรี คือ “งานช่างทอง” กำเนิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างความงดงามทางธรรมชาติกับประโยชน์ใช้สอยไว้อย่างกลมกลืน มีความประณีต งดงาม และสมบูรณ์แบบ แสดงถึงเอกลักษณ์แห่งภูมิปัญญาด้านฝีมือ ซึ่งปัจจุบันหาคนทำยากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะครูช่างส่วนใหญ่อายุมากแล้ว องค์ความรู้ที่มีก็ได้ถ่ายทอดให้กับบุตรหลาน ญาติพี่น้อง หรือคนคุ้นเคยของตนเองเท่านั้น แต่ปัจจุบันราคาทองคำสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับอดีต ส่งผลให้ช่างทำทองหลายคนต้องหันไปประกอบอาชีพอื่น ๆ เพื่อเลี้ยงครอบครัวแทน ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือการร่วมอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่มีมาช้านานนี้ให้คงอยู่สืบไปในเชิงเครื่องประดับเพชรบุรีร่วมสมัย โดยเริ่มจากการศึกษา ค้นคว้า รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์เกี่ยวกับรูปแบบ ลวดลาย เทคนิคที่สามารถลดทอนลงได้ รวมทั้งวิเคราะห์รูปแบบการสวมใส่ของกลุ่มคนต่าง ๆ และกำลังการซื้อเครื่องประดับของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสรุปประเภท รูปแบบ วัสดุ และขนาดของเครื่องประดับ พร้อมร่างแบบ 2 มิติ จนกระทั่งผลิตเป็นชิ้นงานเครื่องประดับที่มีราคาย่อมเยา ทำให้คนทั่วไปเข้าถึงง่ายขึ้น แต่ยังคงแสดงความเป็นเอกลักษณ์และคุณค่าความเป็นเครื่องประดับ “สกุลช่างเพชรบุรี” ดังเดิม

References

เดลินิวส์. (2558, 16 เมษายน). ช่างทองสี่แผ่นดินผู้เคยถวายงาน “สมเด็จย่า” ถึงแก่กรรม. เดลินิวส์. https://d.dailynews.co.th/regional/314789/

ไทยรัฐออนไลน์, (2558, 15 เมษายน). สิ้น ‘ช่างทองสี่แผ่นดิน’ ศิลปินแห่งชาติ อายุ 100 ปี 7 เดือน 7 วัน. ไทยรัฐออนไลน์. http://www.thairath.co.th/content/493204

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม.(2552). เครื่องทองโบราณ สกุลช่างเพชรบุรี. มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม.http://ich.culture.go.th/index.php/th/ich/traditional-craftsmanship/241-craft/180-----m-s]

วัฒนะ จูฑะวิภาต. (2535). ศิลปหัตถกรรมของช่างทองเมืองเพชร: ความเป็นมาและสภาพปัจจุบัน. บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ จำกัด.

สมศรี นวรัตน์. (2557, 27 มกราคม). ช่างทอง...เมืองเพชรบุรี??. GotoKnow. https://www.gotoknow.org/posts/560240

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี. (2552). เพชรบุรีเมืองงาม: งามงานสกุลช่างเมืองเพชร. (3). สำนักงาน.

เผยแพร่แล้ว

19-08-2022 — Updated on 05-11-2022

Versions

How to Cite

ประพิศพงศ์วานิช ป. (2022). การสืบสานสกุลช่างทองเมืองเพชรผ่านการออกแบบเครื่องประดับร่วมสมัย. DEC Journal, 1(2), 35–58. https://doi.org/10.69598/decorativeartsjournal.1.35-58 (Original work published 19 สิงหาคม 2022)