การบริหารองค์การที่มีผลต่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของกรมทางหลวง ส่วนกลาง Organization Management Affecting the High Performance Organization of the Department of Central Highways

Main Article Content

ทรงภพ เบญจเทพานันท์
วรรณวิภา ไตลังคะ
พงษ์ศักดิ์ เพชรสถิตย์
ปริญญา จรูญโรจน์

บทคัดย่อ

          การพัฒนาองค์การให้มีสมรรถนะการทำงานสูง เป็นความท้าทายของการจัดการกับกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง องค์การภาครัฐจึงพยายามหาแนวทางในการดำรงอยู่โดยการจัดทำเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐขึ้นเพื่อประเมินองค์การ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารองค์การและความเป็นองค์การสมรรถนะสูงของกรมทางหลวง ส่วนกลาง และ 2) ศึกษาปัจจัยการบริหารองค์การที่มีผลต่อความเป็นองค์การสมรรถนะสูงของกรมทางหลวง ส่วนกลาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารองค์กรในสังกัดกรมทางหลวง ส่วนกลาง จำนวน 220 คน  สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบนำตัวแปรทั้งหมดเข้าสมการ


          ผลการวิจัย พบว่า กรมทางหลวง ส่วนกลางมีการบริหารองค์การ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?x\bar{}= 4.37, S.D. = 0.731) โดยด้านการคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?x\bar{}= 4.78, S.D. = 0.666) และความเป็นองค์การสมรรถนะสูงอยู่ในระดับมาก  ( gif.latex?x\bar{}= 4.19, S.D. = 0.756) ด้านโครงสร้างและระบบงานที่ยืดหยุ่นอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?x\bar{}= 4.68, S.D. = 0.609) และการบริหารองค์การที่มีผลต่อความเป็นองค์การสมรรถนะสูงของกรมทางหลวง ส่วนกลาง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ สามารถเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้คือ ด้านการคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (x1) ด้านการจัดการกระบวนการ (x2) ด้านผลลัพธ์การดำเนินการ  (x3)  ด้านการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ (x4) ด้านการนำองค์การ (x5) ด้านการวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (x6) และ ด้านการมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล (x7) สามารถร่วมกันพยากรณ์ความเป็นองค์การสมรรถนะสูง ได้ร้อยละ 62.20 เขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ


               gif.latex?Z\hat{}y = -0.147x1 + 0.437x2 + 0.553x3 – 0.186x4 + 0.333x5 + 0.408x6 + 0.269x7

Article Details

How to Cite
เบญจเทพานันท์ ท., ไตลังคะ ว., เพชรสถิตย์ พ., & จรูญโรจน์ ป. (2023). การบริหารองค์การที่มีผลต่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของกรมทางหลวง ส่วนกลาง: Organization Management Affecting the High Performance Organization of the Department of Central Highways. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(3), 488–502. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/3845
บท
บทความวิจัย

References

กองการเจ้าหน้าที่. กรมทางหลวง. (2566). จำนวนบุคลากรกรมทางหลวง. ม.ป.ท.

นิจจารีย์ วงษ์กาฬสินธุ์ และคณะ. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสำนักงานศึกษาธิการภาค 10. วารสาร มมร วิชาการล้านนา. 10(2), 47 – 56.

วาณิชา โกวิทานนท์. (2562). การพัฒนารูปแบบการองค์การที่มีสมรรถนะการทำงานสูงเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา. 5(2), 34 – 47.

วรรณวิภา ไตลังคะ และคณะ. (2564). แนวทางการบริหารคนเก่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย. วารสาร PAAT Journal. 3(6), 59-72.

ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล และคณะ. (2564). การพัฒนายุทธศาสตร์องค์กรสมรรถนะสูงของสถาบันการศึกษาพยาบาล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. รายงานการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุขพงศ์ สุขพิพัฒน์ และคณะ. (2560). การบริหารมหาวิทยาลัยรังสิตให้เป็นองค์การสมรรถนะสูง. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์. 3(1), 55-67.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2558). เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน ฉบับที่ 2. กรุงเทพมหานคร: วิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย.

สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ (2565). การศึกษาและเตรียมความพร้อมสู่การเป็นองค์การมหาชนของกรมวิทยาศาสตร์บริการ. Journal of Politics and Governance. 12(1), 98 - 114.

Carew, D.et al. (2006). Is Your Organization High-Performance Organization? Accessed August 15, 2023. Available from http://www.pearsonhighered.com/samplechapter /013144909.pdf.