ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 Effect of Learning Management by Using Problem Based Learning toward Learning Achievement and Scientific Problem-Solving Ability of Prathomsuksa 6 Students
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์กับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดแจ่มอารมณ์ ตำบลดงครั่งใหญ่ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 21 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและภัยธรรมชาติ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t- test แบบ Dependent Sample และ One Sample ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คิดเป็นร้อยละ 59.15 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 คิดเป็นร้อยละ 84.50 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยนักเรียนพอใจในเรื่องเนื้อหาที่เรียนมีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ธัชทร โพธิ์น้อย. (2561). การใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ในวิชาวิทยาศาสตร์ขอนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดสองพี่น้อง. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
นวรัตน์ ไวชมภู และคณะ. (2562). การเรียนรู้แบบเชิงรุก: การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในศตวรรษที่ 21.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 14(1): 153.
นฤมล สุดสังข์. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารด้านการคิดแก้ปัญหา เรื่อง ลม ฟ้า อากาศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.(หลักสูตรและการสอน). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : บริษัทสุวีริยาสาส์นจำกัด
ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประสาท อิศรปรีดา. (2549). สารัตถะจิตวิทยาการศึกษา. ขอนแก่น.คลังนานาวิทยา.
พิมพ์พร ภิญโญ. (2565). การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องการเปลี่ยนแปลงของสารโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ กศม.(วิทยาศาสตร์ศึกษา). มหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พรทิพย์ ดิษฐปัญญา และ สุนีย์เหมะ. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และความมั่นใจในตนเอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา. 14(2): 35.
โรงเรียนวัดแจ่มอารมณ์. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนวัดแจ่มอารมณ์. ร้อยเอ็ด : โรงเรียนวัดแจ่มอารมณ์.
วัชรา เล่าเรียนดี และคณะ.(2560).กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษา. นครปฐม : เพชรเกษมพริ้นติ้งกรุ๊ป จำกัด 2545.
วัฒนาพร ดวงดีวงศ์. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดแก้ปัญหา เรื่องวัสดุและสมบัติของวัสดุ ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การสอนวิทยาศาสตร์).ชลบุรี : คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). รายงานผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2015. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2566 จาก: http://timssthailand.ipst.ac.th.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. (2564). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน(O – NET) ปีการศึกษา 2563. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2566. จาก:http://www.ret2.go.th.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2562). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สุคนธ์ สินธพานนท์.(2554).วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ : 9119 เทคนิค.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2547). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สรวีย์ นาคเกษม. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง งานและพลังงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ศษ.ม (การสอนวิทยาศาสตร์). ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
สมยศ นาวีการ. (2544). การบริหารงานบุคคล. พิมพ์ครั้งที่4 .กรุงเทพฯ : บรรณกิจเทรดดิ้ง.
อานุภาพ เลขะกุล. (2554). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. สงขลา : คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Erta, S. W. (2017). “The Effect of Problem Based Learning (PBL) Model toward Student's Critical Thinking and Problem-Solving Ability in Senior High School”. American Journal of Educational Research. 5(6): 634.
Hmelo, E. & Evensen, H. (2000). Problem-based Learning. New York: Routledge.
Weir, J. J. (1974). A Class Model for Diagnosing the Problem Solving of School Student. New York: University of New York.