ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อนโยบายการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลในอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด The Public Expectation towards Government Lottery Distribution Policy in Suwannaphum District, Roi Et Province

Main Article Content

ภัทรพร เชิงหอม
ผศ.ดร.สยามพร พันธไชย
พระครูสุตวรธรรมกิจ,ผศ.ดร.

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังของประชาชนต่อนโยบายการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระว่างหลักพรหมวิหาร 4 กับความคาดหวังของประชาชนต่อนโยบายการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบูรณาการหลักพรหมวิหาร 4 กับนโยบายการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลในอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างและวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นประชากรโดยการสุ่มตัวอย่างจากสูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 399 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาณและหาค่าความสัมพันธ์โดยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อนโยบายการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลในอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดโดยรวมอยู่ในระดับมากและรายด้านก็อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) ผลการศึกษาความสัมพันธ์หลักพรหมวิหาร 4 กับความคาดหวังของประชาชนต่อนโยบายการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลในอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด หลักพรหมวิหารธรรม 4 มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังของประชาชนต่อนโยบายการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นไปในเชิงบวกอยู่ในระดับความสัมพันธ์ต่ำ และสรุปผลการวิเคราะห์แบบสัมภาษณ์ของผู้ให้ข้อมูลหลักเกี่ยวกับการบูรณาการหลักธรรมกับความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อนโยบายการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลพบว่าหลักพรหมวิหารธรรมจะทำให้สามารถอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข ในการวิจัยครั้งนี้สลากที่จัดให้มีขึ้นโดยสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเพื่อขายให้แก่ผู้เล่นเป็นการเสี่ยงทายควรมีการให้รางวัลที่แบ่งเป็นหลายรางวัลตามจำนวนที่กำหนดไว้โดยยึดหลักพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขามากำหนดเป็นแนวทางการกระทำงานของรัฐบาลย่อมทำให้ประชาชนเกิดความสุขตามความคาดหวัง

Article Details

How to Cite
chernghom, pattaraporn, พันธไชย ผ. ., & พระครูสุตวรธรรมกิจ. (2022). ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อนโยบายการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลในอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด: The Public Expectation towards Government Lottery Distribution Policy in Suwannaphum District, Roi Et Province. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 4(2), 69–83. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/1687
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา.(2553). การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล.พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสาร.

เชวงศักดิ์ พลเยี่ยม.(2546).ปัจจัยที่มีผลต่อการ(ซื้อ)เล่นหวยใต้ดินของประชาชน กรณีศึกษา : อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยบูรพา:ชลบุรี.

ณหทัย กูลณรงค์. (2546). ประสิทธิผลของการนำนโยบายแก้ไขปัญหาสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคารัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชามาปฏิบัติ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธีรนุช พูศักดิ์ศรีกิจและศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2557).บทบาทของความเชื่อโชคลางต่อพฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลและหวยใต้ดินของผู้บริโภคชาวไทย.วารสารวิชาการ Veridian E-Journal.7(2), 1348-1361

ประกอบ กรรณสูตร.(2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทฑาการพิมพ์.

พัชระ คงพินิจบรรจง. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อหวยเถื่อนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. รายงานการวิจัยเชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รังสรรค์ สิงห์เลิศ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วรินทร สุวรรณจรัส.(2549). พฤติกรรมและความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการเล่นหวยในเขตตําบลแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี.ปัญหาพิเศษของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชานโยบายสาธารณะ, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด.ข้อมูลทั่วไปจังหวัดร้อยเอ็ด. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา. https://www.roiet.go.th/pagein-10.html.

สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล.(2562). แผนวิสาหกิจสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลประจำปี 2560-2564 (ทบทวนประจำปี 2562). นนทบุรี : สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล.

Hinkle, D.E., (1998). Applied Statistic for the Behavioral Sciences. Boston: Houghton Mifflin.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. New York: Harper and Row Publication.