สถาบันการเมืองกับการสื่อสารทางการเมืองสมัยใหม่ Political Institutions and Modern Political Communication
Main Article Content
บทคัดย่อ
การที่สถาบันทางการเมืองจะมีความเข้มแข็งจะต้องเริ่มจากการสื่อสารนโยบาย แนวทางในการบริหารงานให้กับประชาชนในฐานะพลเมืองรับทราบก่อนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งในทางตรงและทางอ้อมเพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนบทบาทหน้าที่ของสถาบันการเมือง และเป็นการสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งยังเป็นการคัดค้านหรือต้านทานการใช้อำนาจในทางไม่ชอบของสถาบันการเมืองและในปัจจุบันความก้าวหน้าของสื่อใหม่ได้มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาก่อให้เกิดวิวัฒนาการจึงส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงกับสถาบันการเมืองเป็นอย่างมาก สำหรับสถาบันทางการเมืองในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล พรรคการเมือง หรือองค์กรอิสระต่างก็ต้องอาศัยสื่อใหม่ในการที่จะเข้าถึงกลุ่มของประชาชนในแต่ละช่วงวัย อีกทั้งในปัจจุบันสื่อใหม่สามารถดำเนินการเล่าเรื่องที่หลากหลายผ่านโปรแกรมต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์สามารถรังสรรค์การประชาสัมพันธ์ตามใจที่ต้องการ อีกทั้งในปัจจุบันนี้การที่จะนำสื่อใหม่เข้ามาใช้ก็มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบ AI eBook และโปรแกรมอื่น ๆ อีกมายมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงยุคในปัจจุบันมีการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการบริหารงาน การจัดสรรทรัพยากร การตรวจสอบผลการดำเนินงานของสถาบันการเมืองได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าสถาบันการเมืองไม่สามารถหลีกเลี่ยงสื่อใหม่ที่เข้ามาแทนที่สื่อเก่าได้เลยเพราะสื่อใหม่จะเป็นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่คำนึงถึงความสนใจของประชาชนเป็นหลัก ทั้งนี้การใช้สื่อทั้งสองรูปแบบจึงต้องมีการผสมผสานให้สอดคล้องกับความชัดเจน ปรับเนื้อหาให้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชนซึ่งถือว่าเป็นกุญแจสำคัญที่จะไขความต้องการของประชาชนในยุคปัจจุบัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2547). การวิเคราะห์สื่อแนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
บุญชู บุญลิขิตศิริ. (2553). การพัฒนากระบวนการสร้างความรู้ในชุมชนการเรียนรู้เชิงเสมือนสำหรับนักวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บูฆอรี ยีหมะ. (2547). สถาบันการเมืองกับการพัฒนาการทางการเมืองไทย. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทาลัยราชภัฏสงขลา.
วิวัฒน์ เอี่ยมไพรวัน. (2544). การเมืองการปกครองตามรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน. กรุงเทพมหานคร : วิ.เจ.พริ้นติ้ง.
ศุภชัย ยาวะประภาษ และปิยากร หวังมหาพร. (2557). การสื่อสารทางการเมืองภาครัฐ ในประมวลสาระ ชุดวิชาการสื่อสารการเมือง. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อานันท์ ปันยารชุน. (2552). “ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน,” ใน ประชาธิปไตยในระยะเปลี่ยนผ่าน. กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊คส์.
Boncheck,M.S. (1997). From broadcast to netcast: The internet and the flow of political information. Harvard University: Cambridge.MA.
Brian McNair.(1999). An Introduction to Political Communication. London: Routledge.
David K. Berlo.(1960). The Process of Communication: An Introduction to Theory and Practice. New York: Holt, Rinehart and Winston.
Faris,D (2010). Revolutions without revolutionaries? Social media networks and regime response in Egypt. University of Pennsylvania. From http://repository.upenn.edu/edissertations/116.
R.E. Denton,Jr. and G.C. Woodward.(1990). Political Communication in America. New York: Preager.
R.E. Goodin. (1996). The Theory of Institutional Design. Cambridge: Cambridge University Press. cited in Jean Blondel. “About Institutions, but not Exclusively, Political”, in R.A.W. Rhodes, Sarah A. Binder, and Bert A. Rockman. (eds.).
Samuel P. Huntington. (1968). Political Order in Changing Societies. Cambridge, Massachusetts: Yale University.