การบริหารจัดการเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรมโดยใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4 ของหมอลำคณะสมจิตร บ่อทอง Conservation and cultural management using Dharma-itthibath principles 4 of Mo Lam from Somchit Faculty of Bothong

Main Article Content

สมจิต ทองบ่อ
ผศ.ดร.สยามพร พันธไชย
ผศ.ดร.สุกานดา จันทวารีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1). ศึกษาวิธีการบริหารจัดการเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรม โดยใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4 ของหมอลำคณะสมจิตร บ่อทอง และ2). เปรียบเทียบการนำหลักธรรมอิทธิบาท 4 มาใช้ในการบริหารจัดการตามความคิดเห็นของสมาชิกหมอลำคณะสมจิตร บ่อทอง จำนวน 220 คน กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีจากตารางเปรียบเทียบของเครซี่และมอร์แกน จำนวน 140 คน เครื่องมือคือ แบบสอบถาม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ นักวิชาการ และหัวหน้าคณะหมอลำ จำนวน 9 คน เครื่องมือคือ แบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า การบริหารจัดการเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรมโดยใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4 ของหมอลำคณะสมจิตร บ่อทอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.51 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านฉันทะค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 4.46 ด้านวิริยะค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 4.51 ด้านจิตตะค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 4.61 ด้านวิมังสาค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 4.45 เปรียบเทียบการนำหลักธรรมอิทธิบาท 4 มาใช้ในการบริหารจัดการตามความคิดเห็นของสมาชิกหมอลำคณะสมจิตร บ่อทอง พบว่า บุคลากรที่มีเพศต่างกัน อายุต่างกัน และระยะเวลาทำงานมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรมโดยใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4  แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
ทองบ่อ ส., พันธไชย ผ. ., & จันทวารีย์ ผ. . (2022). การบริหารจัดการเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรมโดยใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4 ของหมอลำคณะสมจิตร บ่อทอง: Conservation and cultural management using Dharma-itthibath principles 4 of Mo Lam from Somchit Faculty of Bothong. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 4(2), 128–138. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/1771
บท
บทความวิจัย

References

ประเวศ วะสี.(2556). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธรรมจักรพิษณุโลกการพิมพ์.

จารุวรรณ ธรรมวัตร.(2558). ภูมิปัญญาหมอลำเอก: ความรุ่งโรจน์ของอดีตกับปัญหาของหมอลำในปัจจุบัน.กรุงเทพมหานคร: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

เทพศักดิ์ บุณยรัตน์.(2552). การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ส่งศรี ชมพูวงศ์.(2549). การวิจัย. นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ชาตรี แนวจำปา.(2552). การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. (สาขารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สายรุ้ง บุบผาพันธ์.(2552). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด ตามหลักอิทธิบาท 4. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสมคิด โครธา.(2547). การใช้อิทธิบาท 4 ในการเรียนของพระนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.