รูปแบบการส่งเสริมเครือข่ายระบบทวิภาคีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย

Main Article Content

ศุภกานต์ ดิดขำ
เชาวฤทธ์ จั่นจีน
หยกแก้ว กมลวรเดช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการส่งเสริมเครือข่ายงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย 2) เพื่อสร้างรูปแบบการส่งเสริมเครือข่าย ระบบทวิภาคีวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย3)เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการส่งเสริมเครือข่ายระบบทวิภาคี ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย โดยใช้วิธีการผสมผสานกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ ประชากรกลุ่มที่ 1 ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ปีการศึกษา 2564 ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ  สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ประเภทวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว  สาขาวิชาการโรงแรม สถานประกอบการที่ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย ปีการศึกษา 2564  จำนวน 175  คน ในการเก็บรวบรวมข้อมูลระยะที่ 1 โดยการแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคีภาคเหนือ ตัวแทนสถานประกอบการ ตัวแทนผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี หัวหน้างานหลักสูตรการเรียนการสอน หัวหน้าสาขาวิชาที่เปิดสอนระบบทวิภาคี ครูนิเทศ ครูฝึก นักศึกษา วิทยาลัยวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ และวิทยาลัยพาณิชยการบึงพระพิษณุโลก  รวมทั้งหมด 18 คนโดยการแบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และระยะที่ 3 โดยการใช้แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า สภาพและปัญหาการส่งเสริมเครือข่ายงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามรายด้าน โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย พบว่าอันดับที่ 1 คือ ด้านบุคลากร รองลงมาคือ คือด้านการจัดแผนการเรียน ด้านหลักสูตรที่ใช้ในการจัดการอาชีวศึกษา ด้านกระบวนการบริหารจัดการและอันดับสุดท้าย คือ ด้านการวัดผลประเมินผล และจากการสนทนากลุ่ม พบว่ารูปแบบการส่งเสริมเครือข่ายระบบทวิภาคีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัยโดยรูปแบบที่มีความเหมาะสมประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ  ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการบริหารจัดการ ด้านหลักสูตรที่ใช้ในการจัดการอาชีวศึกษา ด้านการจัดแผนการเรียน และด้านการวัดผลประเมินผล ผลการประเมินความเหมาะสม ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการส่งเสริมเครือข่ายระบบทวิภาคีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ดิดขำ ศ., จั่นจีน เ. ., & กมลวรเดช ห. (2022). รูปแบบการส่งเสริมเครือข่ายระบบทวิภาคีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย . วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 4(3), 251–267. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/1970
บท
บทความวิจัย

References

จินตนา รวมชมรัตน์ (2558) รูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต.สาขาวิชาการบริหารเพื่อการพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ณัฐวิทย์ มุงเมือง และบุญสม สราเอกศิริ.(2560). ความร่วมร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยการอาชีพในภาคเหนือตอนบน.หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์และศิลปะศาสตร์.

นันทิชา มารแพ้.(2562). รูปแบบการวางแผนการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี.หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ในตะวัน กำหอม.(2559). การวิจัยการบริหารการศึกษา.มหาสารคาม:โรงพิมพ์ทีคอม.

บุญลือ ทองเกตุแก้ว.(2559). การบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ของสถานศึกษา ในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3. การพัฒนาหลักสูตรพัฒนานักบริหารระดับสูงกระทรวงศึกษาธิการ (นบส.ศธ.) รุ่นที่ 6 สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

บุญสม สราเอกศิริ.(2560).สภาพความร่วมร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยการอาชีพในภาคเหนือตอนบน.หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์.

มณฑิรา นพรัตน์.(2560).รายงานการติดตามและประเมินผลการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

รัชต ไตรมาลัย.(2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อความเป็นเลิศของสถาบันการอาชีวศึกษาเพื่อรองรับการเป็นประเทศไทย 4.0 .ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาอุดมศึกษาภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษาคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีรวัฒน์ วงษ์ดนตรี.(2552). แนวทางการดำเนินการด้านการอาชีวศึกษาที่ตอบสนองต่อการประกอบอาชีพและเพื่อยกระดับคุณภาพแรงงานในประเทศ.สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2550). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถ ของเด็กในการอ่าน คิด วิเคราะห์ เขียน และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์คุรุสภา.

สุวิทย์ สวัสดี และชัยยุทธ ศิริสุทธ์ .(2564).กลยุทธ์การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

สุระชัย ลาพิมพ์.(2563).การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศ ของวิทยาลัยสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี.หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต.สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศานติกรศิ์ วงค์เขียว และอนุชา กอนพ่วง.(2561).รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมมาตรฐานการเรียนร่วมของโรงเรียนเรียนรวม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อุดมศักดิ์ มีสุข.(2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี สาขาช่างอุตสาหกรรม ในสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง.ปริญญาเอก สาขาวิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.